ส่วนที่ 3 เป็นส่วนการแสดงผล มีแอลอีดีขนาด 3 มิลลิเมตร 2 ตัว และตัวกำเนิดเสียง 1 ตัว
ส่วนที่ 4 เป็นส่วนที่เรียกง่ายๆ ว่าวงจรปั๊มแรงดันจากแรงดันจากถ่านไฟฉาย 3 โวลท์ เป็นแรงดันไฟขนาด 3.3 โวลท์ใช้เลี้ยงตัวไมโครคอนโทรเลอร์ซึ่งวงจรนี้เป็นวงจรที่สำคัญมากช่วยให้ตัวไมโครคอนโทรเลอร์ทำงานไม่ผิดพลาดอันเนื่องมาจาก การดึงกระแสไฟของมอเตอร์ดีซีทั้ง 2 ตัวในช่วงการทำงาน
      ซึ่งลักษณะการทำงานของวงจร โดยขณะเริ่มจ่ายไฟให้กับวงจร R2 จะเป็นทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายกระแสให้กับขาเบส(B)ของ TR1 ทำให้ TR1 ทำงานและส่งผลให้ TR2 ทำงาน ในส่วนของ TR2 จะทำงานในโหมดของการสวิตช์ ซึ่งจะทำให้กระแสถูกเก็บสะสมเพิ่มขึ้นที่ L แรงดันที่เกิดขึ้น ที่ขาคอเรคเตอร์(C)ของ TR2 จะส่งผลทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นที่ขาเบส(B)ของ TR1 (ผ่าน C1) และทำให้ TR1 หยุดการทำงาน ซึ่งก็เป็นผลให้ TR2 หยุดการทำงานด้วย สนามแม่เหล็กที่ L จะยุบตัวลง ทำให้แรงดันที่เกิดขึ้นมีค่าสูงกว่าแหล่งจ่ายพลังงาน ส่งผ่าน D1 และเก็บไว้ที่ C2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะถูกกระทำซ้ำไปมาอย่างต่อเนื่อง โดยแรงดันสะสมนี้จะถูกส่งผ่าน R3 ผ่านซีเนอร์ไดโอด D2 ซึ่งทำหน้าที่ชั้นเรกูเลเตอร์รักษาระดับแรงดันให้คงที่ 3.3 โวลท์
             
รูปที่6 เป็นกราฟเทียบแรงดันอินพุทและเอาท์พุทที่จุด C2 ,D2
      ในรูปที่6 เป็นกราฟที่แสดงการทดสอบแรงดันอินพุทที่ 2 – 5โวลท์ เปรียบเทียบกับแรงดันที่ได้ทางเอาท์พุทที่จุด C2 และ D2 โดยที่จุด C2 จะเป็นจุดที่ได้แรงดันสูงกว่าอินพุท ซึ่งจะเป็นแรงดันที่เกิดจากวงจรทวีแรงดัน และในจุด D2 จะเป็นจุดที่ถูกรักษาแรงดันโดยวงจรชั้นเรกูเลเตอร์

ส่วนที่5  เป็นส่วนที่เป็นหัวใจหลักของวงจรคือส่วนของตัวไมโครคอนโทรเลอร์ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เราจะทำการบรรจุโปรแกรมที่เราได้เขียนขึ้นมาหรือใส่ความคิดลงไป เพื่อให้วงจรทำงานตามที่เราต้องการ
ส่วนที่ 6  เป็นส่วนที่เป็นวงจรเสริมที่เราจะสามารถนำมาต่อเพิ่มเติมเข้าไปได้ ที่จุด J1 เช่น วงจรวิทยุรับส่ง วงจรตรวจจับแสง เป็นต้น แต่ในที่นี้ได้ยกตัวอย่างโดยใช้วงจรวิทยุรับส่งมาต่อใช้งานครับ
การประกอบวงจร
  
    ในการประกอบวงจร เราต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ครบตามรายการอุปกรณ์ท้ายบทความเสียก่อน และเตรียมลายวงจรพร้อมทั้งตรวจเช็คว่ามีการช็อตกันระหว่างลายทองแดงหรือไม่ เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมก็ลงมือทำการจับหัวแร้ง พร้อมประกอบวงจรได้เลยครับ ตามหลักการการประกอบวงจรอุปกรณ์ที่เล็กที่สุดต้องลงก่อน เริ่มจากลวดจ้ำ ตัวต้านทาน ทรานซิสเตอร์ ตัวเก็บประจุ แอลอีดี สวิตช์ ขั้วถ่าน และตัวที่ลงท้ายสุดคือไมโครสวิตช์ SW2, SW3 เมื่อประกอบทุกอย่างเสร็จแล้ว ต้องหยุดพักและนำวงจรที่ลงอุปกรณ์เสร็จแล้วมาประกอบเข้ากับชุดมอเตอร์ที่เราได้ประกอบเตรียมไว้ได้เลยครับ
     
    มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง