BasicLite
เมษายน 17, 2024, 05:42:32 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มต้นการสร้างหุ่้นยนต์  (อ่าน 18122 ครั้ง)
Admin
Administrator
Full Member
*****
กระทู้: 121



เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2008, 03:02:10 PM »

การออกแบบหุ่นยนต์
การออกแบบหุ่นยนต์ รวมเอาวิศวกรรมในหลายสาขาที่แตกต่างกัน ขั้นแรก ไม้ เหล็ก พลาสติก สำหรับโครงสร้าง แล้วมีกลไกเชื่อมต่อล้อและเพลา ต่อเข้ากับมอเตอร์ และทำให้โครงสร้างสมดุล

ต่อจากนั้นคุณจะมีระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้พลังงานแก่มอเตอร์ และเชื่อมต่อตัวตรวจจับหรือเซนเซอร์เข้ากับวงจรควบคุมการทำงาน เช่น
- วงจรอิเล็กทรอนิกส์
- ไมโครคอนโทรลเลอร์
- ไมโครคอมพิวเตอร์
เพื่อประมวลผล และสั่งให้ขับเคลื่อนหุ่นยนต์

สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนคือ
1.การออกแบบตัวหุ่น
- วางแผนการเลือกใช้วัสดุ ในการทำ ไม้ เหล็ก
- วางแผนการออกแบบโครงสร้าง ขับเคลื่อนแบบใด ล้อ ตีนตะขาบ เดินด้วยเท้า กี่ขา มีกลไกอะไรบ้าง



2.การออกแบบซอฟแวร์
- หากควบคุมด้วย  ไมโครคอนโทรลเลอร์และไมโครคอมพิวเตอร์ ต้องมีการเขียนโปรแกรม ให้ทำงานตามเงื่อนไข
- หากควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ธรรมดา ก็จะเป็นการออกแบบวงจร

3.เครื่องมือและอุปกรณ์
- เครื่องมือในการสร้าง เครื่องมือทางช่าง


- อุปกรณ์ วัสดุ มอเตอร์ วงจร

4.ส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์
- หลักการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ละตัว ตัวต้านทาน ทรานซิสเตอร์ ไอซี
- การออกแบบ การบัดกรี

5.ส่วนประกอบทางเครื่องจักรกล
- วงจรขับมอเตอร์ กลไก การทดรอบ เฟือง

6.วัสดุการสร้าง
- การเลือกใช้วัสดุ ในการทำ ไม้ เหล็ก ส่วนไหนต้องเบา ส่วนใหนต้องแข็งแรง

7.การเขียนโปรแกรมพื้นฐาน
- เรียนรู้การเขียนโปรแกรมควบคุม เช่น ภาาซี เบสิค แอสแซมบลี้

อาจจะยากในช่วงแรก แต่หากเข้าใจหลักการ คุณก็สามารถทำหุ่นยนต์ง่ายๆได้....

บันทึกการเข้า

basiclite
Administrator
Sr. Member
*****
กระทู้: 381



« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2008, 03:46:27 PM »

LIGHT  BEAM


ลองทำดูโครงงานง่ายๆกันก่อนนะ
 ในการออกแบบวงจรเราต้องวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเสียก่อน โดยหุ่นยนต์ต้องมีความสามารถเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาเสียก่อน เป็นอิสระจากกันและต้องขึ้นอยู่กับแสงที่ให้ด้วย มอเตอร์ต้องเป็นมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา แต่มอเตอร์ที่มีขนาดเล็กแม้อาจจะไม่สามารถให้แรงบิดสุงได้ ดังนั้นถ้าเราต้องการให้หุ่นยนต์วิ่งตามแสงได้ อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ต้องมีขนาดเล็กที่สุดและน้ำหนักเบาที่สุดอีกด้วย จากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของวงจรหุ่นยนต์เดินตามแสงขึ้นมา
      วงจรออกแบบแม้จะไม่คล้ายกับวงจรที่เคยเห็น แต่ก็สามารถทำให้บีมทำงานได้และเป็นวงจรง่าย ๆ การเลือกที่ไอซีเบอร์ ULN2003 มาเป็นหัวใจหลักของบีมตัวนี้ก็คือ มีราคาถูกสามารถขับกระแสได้ประมาณ 500 มิลลิแอมป์
      ลักษณะการทำงานของ ULN2003 จะเหมือนนอตเกตและยังมีไดโอดป้องกันอีกด้วย โดยไอซีเบอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวขับกระแสและเป็นสวิตซ์เปิดปิดให้มอเตอร์ทำงานหรือหยุดการทำงาน สิ่งที่เราต้องพิจารณามากที่สุดในการออกแบบก็คือแรงดันอินพุตสูงสุดที่จะทำให้ไอซีเบอร์นี้ทำงาน

อ่านต่อได้ที่
http://www.basiclite.com/robot/project/lightbeam/lightbeam.htm
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!