BasicLite
เมษายน 25, 2024, 05:27:11 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วงจรขับมอเตอร์  (อ่าน 28503 ครั้ง)
Admin
Administrator
Full Member
*****
กระทู้: 121



เว็บไซต์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2010, 05:33:47 AM »

ปรกติรีเลทั้งสองตัวจะไม่ทำงาน
มอเตอร์ถูกติดเบรคเอาไว้
ถ้าจะเดินหน้าก็จะสั่งให้รีเล(Run)ตัวที่สองทำงาน
แล้วค่อยๆเพิ่มduty cycle ให้PWMมอเตอร์ก็จะหมุนรอบได้เร็วตามชอบใจเรา

ถ้าต้องการให้มอเตอร์หมุนช้าลงก็ค่อยๆลดduty cycleให้น้อยลง
มอเตอร์ก็จะค่อยๆหมุนช้าลง

ถ้าต้องการให้มอเตอร์เบรคหยุดหมุนเร็วๆ
ก็สั่งให้รีเล(Run)หยุดทำงาน
มอเตอร์จะถูกR19เบรคให้หยุดหมุนได้เร็วมาก

ที่นี้ถ้าต้องการให้มอเตอร์หมุนถอยหลัง
ก็สั่งรีเล(Reverse)ตัวแรกทำงาน
แล้วปล่อยเบรคคือสั่งรีเลตัวที่สอง(Run)ทำงาน
แล้วค่อยๆเพิ่มduty cycleมอเตอร์ก็จะค่อยๆถอยหลังช้าๆ
เราสามารถปรับรอบหมุนถอยหลังได้เร็วตามชอบใจเรา

วิธีนี้ควบคุมได้ทั้งเดินหน้าและถอยหลังปรับรอบได้จาก0ถึง100%

รีเลสามารถใช้งานได้ทนทานมากๆ

เพราะว่ารีเลมันสวิสตอนที่ไม่มีกระแสไหลZero Current Switchหน้าคอนแท็กไม่สึก

เพราะเวลาสวิสไม่มีกระแสไหล

วิธีนี้ขับง่ายใช้MOSFETเพียงแค่ตัวเดียว

เขียนโคตง่ายหรือจะใช้ไอซี555เป็นตัวสร้างPWMก็ได้


จาก
http://www.pantip.com/tech/electronics/topic/EM2883251/EM2883251.html




* EM2883251-10.jpg (78.95 KB, 1160x579 - ดู 15088 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

basiclite
Administrator
Sr. Member
*****
กระทู้: 381



« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 01:06:48 AM »

วงจรขับมอเตอร์แบบง่ายๆ เร็วแรง แต่ถูกสุดๆ แต่ระวังเรื่องสัญญาณรบกวนนะครับ



หลัการทำงานของวงจร


ส่วนที่1 จะ เป็นส่วนที่ใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับระบบทั้งหมด ในโครงงานนี้ใช้ถ่านไฟฉาย1.5โวลท์ขนาด AA 2 ก้อน
ส่วนที่2 เป็นวงจรขับมอเตอร์ได้สองทิศทาง จำนวน 2 ชุด โดยมีลักษณะการทำงาน 4 รูปแบบดังนี้



ในรูปแบบที่1 แรงดันทางด้านอินพุท Q3,Q4 มีค่าแรงดันเป็นลอจิกต่ำ ทรานซีสเตอร์ทุกตัวจะอยู่ในโหมดของสวิตช์ OFF มอเตอร์ที่ต่ออยู่จะไม่ทำงาน

ในรูปแบบที่2 แรงดันทางด้านอินพุท Q3 เป็นลอจิกสูงและแรงดันทางด้านอินพุท Q4 เป็นลอจิกต่ำ ในลักษณะการทำงานนี้จะทำให้ Q3 ทำงาน และส่งผลให้ Q2 ,Q5 ทำงาน กระแสจะไหลผ่าน Q2 มอเตอร์ และ Q5 ลงกราวด์ทำให้มอเตอร์หมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา

ในรูปแบบที่3 แรงดันทางด้านอินพุท Q3 เป็นลอจิกต่ำและแรงดันทางด้านอินพุท Q4 เป็นลอจิกสูง ในลักษณะการทำงานนี้จะทำให้ Q4 ทำงาน และส่งผลให้ Q1 ,Q6 ทำงาน กระแสจะไหลผ่าน Q1 มอเตอร์ และ Q6 ลงกราวด์ทำให้มอเตอร์หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

ในรูปแบบที่4 แรงดันทางด้านอินพุทเป็นลอจิกสูงทั้งคู่ ในลักษณะการทำงานนี้ทรานซิสเตอร์จะทำงานทุกตัว ซึ่งเป็นลักษณะที่อันตราย จึงไม่ใช้รูปแบบนี้ในการทำงานอย่างเด็ดขาด

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนการแสดงผล มีแอลอีดีขนาด 3 มิลลิเมตร 2 ตัว และตัวกำเนิดเสียง 1 ตัว
ส่วนที่ 4 เป็นส่วนที่เรียกง่ายๆ ว่าวงจรปั๊มแรงดันจากแรงดันจากถ่านไฟฉาย 3 โวลท์ เป็นแรงดันไฟขนาด 3.3 โวลท์ใช้เลี้ยงตัวไมโครคอนโทรเลอร์ซึ่งวงจรนี้เป็นวงจรที่สำคัญมากช่วยให้ ตัวไมโครคอนโทรเลอร์ทำงานไม่ผิดพลาดอันเนื่องมาจาก การดึงกระแสไฟของมอเตอร์ดีซีทั้ง 2 ตัวในช่วงการทำงาน
      ซึ่งลักษณะการทำงานของวงจร โดยขณะเริ่มจ่ายไฟให้กับวงจร R2 จะเป็นทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายกระแสให้กับขาเบส(B)ของ TR1 ทำให้ TR1 ทำงานและส่งผลให้ TR2 ทำงาน ในส่วนของ TR2 จะทำงานในโหมดของการสวิตช์ ซึ่งจะทำให้กระแสถูกเก็บสะสมเพิ่มขึ้นที่ L แรงดันที่เกิดขึ้น ที่ขาคอเรคเตอร์(C)ของ TR2 จะส่งผลทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นที่ขาเบส(B)ของ TR1 (ผ่าน C1) และทำให้ TR1 หยุดการทำงาน ซึ่งก็เป็นผลให้ TR2 หยุดการทำงานด้วย สนามแม่เหล็กที่ L จะยุบตัวลง ทำให้แรงดันที่เกิดขึ้นมีค่าสูงกว่าแหล่งจ่ายพลังงาน ส่งผ่าน D1 และเก็บไว้ที่ C2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะถูกกระทำซ้ำไปมาอย่างต่อเนื่อง โดยแรงดันสะสมนี้จะถูกส่งผ่าน R3 ผ่านซีเนอร์ไดโอด D2 ซึ่งทำหน้าที่ชั้นเรกูเลเตอร์รักษาระดับแรงดันให้คงที่ 3.3 โวลท์



เป็นกราฟที่แสดงการทดสอบแรงดันอินพุทที่ 2 – 5โวลท์ เปรียบเทียบกับแรงดันที่ได้ทางเอาท์พุทที่จุด C2 และ D2 โดยที่จุด C2 จะเป็นจุดที่ได้แรงดันสูงกว่าอินพุท ซึ่งจะเป็นแรงดันที่เกิดจากวงจรทวีแรงดัน และในจุด D2 จะเป็นจุดที่ถูกรักษาแรงดันโดยวงจรชั้นเรกูเลเตอร์

ส่วนที่5 เป็น ส่วนที่เป็นหัวใจหลักของวงจรคือส่วนของตัวไมโครคอนโทรเลอร์ในส่วนนี้จะเป็น ส่วนที่เราจะทำการบรรจุโปรแกรมที่เราได้เขียนขึ้นมาหรือใส่ความคิดลงไป เพื่อให้วงจรทำงานตามที่เราต้องการ
ส่วนที่ 6  เป็นส่วนที่เป็นวงจรเสริมที่เราจะสามารถนำมาต่อเพิ่มเติมเข้าไปได้ ที่จุด J1 เช่น วงจรวิทยุรับส่ง วงจรตรวจจับแสง เป็นต้น แต่ในที่นี้ได้ยกตัวอย่างโดยใช้วงจรวิทยุรับส่งมาต่อใช้งานครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!