BasicLite
มีนาคม 28, 2024, 10:01:43 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตัวต้านทาน  (อ่าน 75944 ครั้ง)
todaystep
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 08:55:15 PM »

ตัวต้านทานไฟฟ้า (Resistor)

           เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมามีค่าเฉพาะค่าค่าหนึ่งที่ใช้ในการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้มากที่สุด
ใน วงจรอิเล็กทรอนิกส์มักเรียกสั้นๆ ว่า อาร์ “R” มีคุณสมบัติในการลดกระแสและแรงดันไฟฟ้า   โดยสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง และแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับสัญลักษณ์ของความต้านทาน



* sym copy.jpg (15.32 KB, 174x135 - ดู 24060 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 08:56:41 PM »

หน่วยของความต้านทาน (Resistance)
           ค่าความต้านทานของตัวต้านทาน ถูกกำหนดให้มีหน่วยเรียกเป็น โอห์ม (OHM) เขียนแทนด้วยเครื่องหมายอักษรกรีกโบราณ คือ Ω (โอ เมก้า หรือ โอห์ม) ซึ่งได้จากค่ามาตรฐาน โดยการเอาแรงดันไฟฟ้า 1 โวลต์ ต่อกับความต้านทาน 1 โอห์ม และทำให้มีกระแสไหลในวงจร 1 แอมแปร์ ประกอบด้วย หน่วยค่าความต้านทานต่าง ๆ ดังนี้
                            1000  Ω(โอห์ม) เท่ากับ 1 KΩ (กิโลโอห์ม)
                            1000 KΩ (กิโลโอห์ม) เท่ากับ 1 MΩ (เมกกะโอห์ม)
           ตัวต้านทาน บอกค่าความสามารถในการทนกำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt)

บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:00:22 PM »

1.  ชนิดของตัวความต้านทาน

      เมื่อพิจารณาถึงตัวความต้านทานให้ดีแล้ว เราพอที่จะแบ่งตัวความต้านทานออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

              1.1  แบ่งตามชนิดของวัสดุที่ใช้ทำตัวความต้านทาน

              1.2  แบ่งตามชนิดการใช้งานของตัวความต้านทาน

1.1แบ่งตามชนิดของวัสดุที่ใช้ทำตัวความต้านทาน
            ตัวความต้านทานที่แบ่งตามวัสดุที่ให้ทำนั้น มีอยู่ 2 ชนิด คือ วัสดุประเภทโลหะ (Metallic) และวัสดุประเภทอโลหะ  (No Metallic)
วัสดุประเภทโลหะ ที่ใช้ทำตัวความต้านทานนี้ส่วนมากจะใช้เส้นลวดเล็ก ๆ  หรือแถบลวด (Ribbon)  พันบนฉนวนที่เป็นแกนของตัวความต้านทาน และที่ปลายทั้งสองข้างของขดลวดจะต่อขาออกมาใช้งาน แล้วเคลือบด้วยฉนวนอีกทีหนึ่ง อุปกรณ์  ตัวความต้านทาน  ที่ใช้เส้นลวดพันให้เกิดค่าความต้านทานนี้ส่วนมากจะเป็นพวกไวร์วาวด์รีซี สเตอร์ (Wire Wound Resistors)  ตัวความต้านทานแบบนี้จะมีค่าความต้านทานที่แน่นอนและค่าความคลาดเคลื่อนน้อย ที่สุด แต่จะเป็นตัวความต้านทานที่มีขนาดใหญ่ และอัตราทนกำลังไฟฟ้า (วัตต์)  ได้สูง

วัสดุประเภทอโลหะ  ที่ใช้ทำตัวความต้านทานนี้  ได้แก่  ผงคาร์บอน (Carbon) หรือ ผงการไฟต์ (Graphite) ที่อัดตัวกันแน่นเป็นแท่ง และใช้ฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันความชื้น แล้วต่อขาออกมาใช้งานจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของผลคาร์บอน  และกราไฟต์ที่มีค่าความต้านทานสูงมาก ๆ  นี้จึงสามารถนำมาใช้ทำเป็นตัวความต้านทานที่มีค่าสูง ๆ ได้ แต่จะมีขนาดเล็กลง

ตัวความต้านทานประเภทนี้ จะมีค่าความคลาดเคลื่อนของความต้านทานมาก และอัตราทนกำลังไฟฟ้าได้ไม่สูงมากนัก

1.2 แบ่งตามชนิด การใช้งานของตัวความต้านทาน
            ตัวความต้านทานในการใช้งานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์  พอที่จะแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ดังรายละเอียดที่จะกล่าวถึงต่อไป โดยไม่ถือว่าตัวความต้านทานนั้น จะทำมาจากวัสดุประเภท โลหะ หรือ อโลหะ ก็ตาม ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

1.      ตัวความต้านทาน ชนิดค่าคงที่ (Fixed Resistors)
2.      ตัวความต้านทาน ชนิดเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistors)
3.      ตัวความต้านทาน ชนิดปรับแต่งค่าได้ (Adjustable Resistors)
4.      ตัวความต้านทาน ชนิดแบ่งค่าได้ (Tapped Resistors)
5.      ตัวความต้านทานชนิดพิเศษ (Special Resistors)


บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:02:53 PM »

1.  ตัวความต้านทาน ชนิดค่าคงที่  (Fixed Resistors)
คือ ตัวความต้านทานที่มีค่าแน่นอน  ไม่สามารถแปรเปลี่ยนค่าของตัวมันเองได้ โดยมากแล้วตัวต้านทานชนิดนี้จะมีชื่อเรียกตามวัสดุที่นำมาสร้าง เช่น คาร์บอน, ฟิล์มคาร์บอน, ฟิล์มโลหะ หรือพวกเส้นลวดที่เป็นโลหะผสม

ตัวความต้านทานแบบคาร์บอน  (Carbon  Resistor)  เป็นตัวความต้านทานที่นำมาจากแท่งคาร์บอน หรือ การไฟต์ ซึ่งผสมกับตัวประสาน ฟีนอลลิก แล้วจึงต่อด้วยปลายขาโลหะ ทั้งสองข้างออกมา

ความต้านทานที่ได้ก็จะมีค่าสูง ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอนจะมีค่าความคลาดเคลื่อน +-5% และยังไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงๆได้ไม่ดีนัก โดยจะส่งผลให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงไปด้วย? นอกจากนั้นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการใช้ตัวต้านทานชนิดนี้ก็มีค่ามากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ

ตัวต้านชนิดนี้เป็นแบบ ที่ใช้ในงานทั่ว ๆ ไป ซึ่งมันสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และแรงดัน ทรานเซี้ยนท์ได้ดี


มีค่าความต้านทาน   ตั้งแต่ 1 โอห์ม จนถึง 20 เมกกะโอห์ม ซึ่งค่าความต้านทานแต่ละค่าแตกต่างกันเนื่องจากความหนาแน่นของวัสดุที่ใช้ทำ ไม่เท่ากัน มีขนาดทนกำลังงาน
ตั้งแต่ 1/10, 1/8, 1/4, 1/2, 1 หรือ 2 วัตต์ มีค่าความผิดพลาด ± 5 %, ± 10 % หรือ ± 20 % นิยมบอกค่าความต้านทานเป็นรหัสแถบสี





ตัวความต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน  (Carbon film Resistors) ตัวความต้านทานชนิดนี้ทำได้โดยการฉาบหมึก คาร์บอน ซึ่งเป็นตัวความต้านทานลงบนแท่งเซรามิค แล้วจึงนำไปเผา เพื่อให้เกิดเป็นแผ่นฟิล์มคาร์บอนขึ้นมา หรืออาจจะมีเทคนิคอื่น ๆ ในการผลิตฟิล์มคาร์บอนก็ได้ เมื่อได้แผ่นฟิล์มที่เคลือบอยู่บนแกนเซรามิคแล้ว  จึงต่อขาโลหะที่จุดขั้วสัมผัสที่ปลายขาทั้ง 2  ของฟิล์มคาร์บอน  ออกมาใช้งาน และตัวความต้านทานนี้จะถูกปรับให้มีค่าเที่ยงตรง เสร็จแล้วจึงฉาบด้วยสารที่เป็นฉนวน

มีคุณสมบัติในการทำงานเหมือนกับคาร์บอนรีซีสเตอร์ ข้อดีของตัวความต้านทานชนิดนี้คือ ราคาจะถูกกว่าแบบคาร์บอน แต่ไม่สามารถ ทนต่อแรงดันกระชากในช่วงสั้น ๆ





ตัวความต้านทานแบบฟิลม์โลหะ  (Metal Film Resistors)  เป็นตัวความต้านทานที่มีลักษณะของโครงสร้างคล้ายคลึงกับแบบฟิล์มคาร์บอน แต่จะใช้ตัวที่ทำให้เกิดค่าความต้านทานเป็นสารจำพวกฟิล์มโลหะแทน เหมาะสำหรับงานซึ่งต้องการเสถียรภาพและความเที่ยงตรงสูงกว่าแบบคาร์บอน สามารถใช้กับงานที่เป็นกระแสไฟสลับได้ดี คือ จะมีย่านความถี่ต่ำไปจนถึงความถี่สูงเป็นเมกกะเฮิรตซ์ได้ และจะมีค่าสัมประสิทธิ์ทางอุณหภูมิต่ำ

ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะนี้จะมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยมากโดยจะมีค่าความ คลาดเคลื่อน +-1% และยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายนอกได้ดี นอกจากนี้ยังเกิดสัญญาณรบกวนที่น้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานชนิดคาร์บอนฟิล์ม




ตัวความต้านทานแบบลวดพัน   (Wire Wound Resistors)   เป็นตัวความต้านทานที่ทำมาจากเส้นลวดโลหะผสม 2 ชนิด หรือ 3 ชนิด ขึ้นไป เช่น ทองแดง, นิเกิล, โครเมียม, สังกะสี และแมงกานีส พันอยู่บนแกนฉนวนเซรามิคที่มีการระบายความร้อนได้สูง และที่ปลายทั้งสองข้างของขดลวด จะต่อขาโลหะออกมา เพื่อนำไปใช้งาน แล้วเคลือบผิวด้วยน้ำยาเคลือบ, ซีเมนต์, ปลอกแก้ว หรือซิลิโคนเพื่อเป็นฉนวน และป้องกันความชื้น



ตัวความต้านทานชนิดนี้ เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดและความเที่ยงตรงสูง จะเป็นตัวความต้านทานที่มีขนาดใหญ่  ส่วนมากค่าความต้านทานของมันจะเขียนบอกไว้ที่ตัวของมัน นิยมใช้ในวงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้า เช่น เป็นตัวความต้านทานแบ่งแรงดันในภาคจ่ายไฟ หรือใช้ในวงจรเครื่องไฟฟ้าที่กินกระแสสูง ๆ และอื่น ๆ ฯลฯ  เป็นต้น
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:04:19 PM »

2.  ตัวความต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้  (Variable Resistors)
คือ  ความต้านทานชนิดที่สามารถเปลี่ยนค่าได้  โดยการใช้แกนหมุน (แบบวงแหวน) หรือเลื่อนแกน (แบบสไลด์) จะใช้ในงานที่ต้องการปรับค่าความต้านทานบ่อยๆ ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหน้าคอนแท็คสำหรับใช้ในการหมุนเลื่อนหน้าคอนแท็คแสดง

วัสดุ ที่ใช้ทำตัวความต้านทานชนิดนี้ อาจจะเป็นวัสดุประเภทเดียวกับที่ช้ำตัวความต้านทานแบบคงที่ คือ ชนิดคาร์บอน  (Carbon)  หรือชนิดเส้นลวด (Wire-Wound)  ซึ่งแล้วแต่ว่าจะต้องการควบคุมปริมาณของกระแสจำนวนมากน้อยเท่าไร  ถ้าใช้กับวงจรที่กระแสสูง วัสดุที่ใช้จะเป็นแบบเส้นลวด ถ้าใช้กับวงจรกระแสต่ำจะใช้กับวัสดุประเภทคาร์บอน




จะมีแกนสำหรับหมุน (แบบวงแหวน) หรือแกนสำหรับเลื่อน (แบบสไลด์) วัสดุที่ใช้ทำตัวความต้านทานชนิดนี้ อาจจะเป็นวัสดุประเภทเดียวกับที่ใช้ทำตัวความต้านทานแบบคงที่ คือ ชนิดคาร์บอน (Carbon) หรือชนิดเส้นลวด (Wire-Wound) ซึ่งแล้วแต่ว่าจะต้องการควบคุมปริมาณของกระแสจำนวนมากน้อยเท่าไร ถ้าใช้กับวงจรที่กระแสสูง วัสดุที่ใช้จะเป็นแบบเส้นลวด ถ้าใช้กับวงจรกระแสต่ำจะใช้กับวัสดุประเภทคาร์บอน




การใช้งานของตัวความต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้  จะมีลักษณะการใช้งานอยู่ 2 ชนิด  คือ

1.การใช้งานเป็นรีโอสะตาท  (Rheostat)
เพื่อควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร  จะมีลักษณะการต่อวงจรอนุกรมกับโหลด (Load)


 
2.การใช้งานเป็นโพเทนทิโอมิเตอร์ (Potentionmeter)
ใช้สำหรับควบคุมโวลต์เตจของวงจร หรือใช้สำหรับปรับสัญญาณต่าง ๆ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วอลลุ่ม (Volume), เบส (Bass) และทรีเบิล (Treble)   หรือปุ่มปรับความสว่างของโทรทัศน์ (Brightness)  และอื่น ๆ ฯลฯ

เรียกสั้นๆ ว่า พอท (POT) หรือที่นิยมเรียกกันว่า วอลุ่ม (Volume) มีทั้งชนิดที่เป็นแกนหมุน (Rotary) และชนิดที่เป็นแกนเลื่อน (Slide) ทำจากคาร์บอน จะมีค่าความต้านทาน ตั้งแต่ 1 KW ถึง 5 MW อัตราการทนกำลังงานต่ำ
ได้ประมาณ 1/2 –2 วัตต์ ถ้าเป็นชนิดไวร์วาวด์ จะมีอัตราการทนกำลังงานได้สูงและมีการเปลี่ยนแปลงค่าได้ละเอียดกว่าชนิดผงคาร์บอน

ทริม พอท (Trim pot) หรือที่เรียกว่า วอลุ่มเกือกม้า เป็นวอลุ่มขนาดเล็กไม่มีแกนปรับส่วนมากจะถูกออกแบบให้ยึดติดแผ่นวงจร ภายในของเครื่องโดยมากจะเป็นชนิดผงคาร์บอน เขียนค่าความต้านทานไว้เป็นตัวเลข ถ้าต้องการปรับค่าจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วย
เช่น  ไขควงเล็ก





การเลือกใช้ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้

 วอลุ่มถูกนำไปใช้งานในการปรับแต่งหรือควบคุมต่าง ๆ เช่น ควบคุมความดังของเสียง (Volume Control) ควบคุมความเข้มของสี
(Color Control)วอลุ่มบอกค่าความต้านทานและชนิดเป็นตัวเลขและตัวอักษร ไว้ที่ตัวของวอลุ่ม แบบแกนหมุนสามารถหมุน
แกนโดยรอบ ได้ประมาณ 300 องศา แต่ละชนิดจะมีลักษณะ อัตราส่วนความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน

ชนิด เอ (A-type) เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบทวีคูณ (Log scale)
ชนิด บี (B-type) เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบสม่ำเสมอเชิงเส้น
ชนิด ซี (C-Type) เป็นชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานจากน้อยไปหามาก เป็นอัตราส่วนแบบทวีคูณ หรือแบบ แอนติล็อก (Antilog)
ชนิด เอ็มเอ็น (MN-Type) เป็นวอลุ่มชนิดที่ถูกออกแบบมาใช้เป็นวอลุ่มสำหรับการปรับเสียงลำโพงซ้าย-ขวา (Balance) ในระบบสเตริโอ
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:05:21 PM »

3.  ตัวความต้านทานชนิดปรับแต่งค่าได้  (Adjustable  Resistors)

คือ ค่าความต้านทานที่สามารถปรับตำแหน่งตามค่าที่ต้องการได้  ซึ่งจะได้เฉพาะค่าใดค่าหนึ่งที่ปรับไว้เท่านั้น  โดยมากใช้ตัวความต้านทานชนิดแบบไวร์วาวด์  และที่บนตัวของตัวความต้านทานชนิดนี้จะมีปลอกโลหะสวมอยู่  และสามารถเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ได้ค่าความต้านทานที่ต้องการได้ เสร็จแล้วซันสกูรล็อคให้จุดสัมผัสของปลอกโลหะ กดลงบนขดลวดความต้านทานให้แน่นเพื่อป้องกันการอาร์คของหน้าสัมผัส



4.  ตัวความต้านทานชนิดแบ่งค่าได้  (Tapped Resistors)

คือ  ตัวความต้านทานแบบชนิดไวร์วาวด์ แต่ตัวความต้านทานนี้อาจถูกแท็ปขดลวดความต้านทานออกมาเป็น  ค่าความต้านทานสองหรือสามค่าได้ ซึ่งจะต่างจากตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ตรงที่ไม่มีปลอกโลหะสวมเพื่อปรับค่า ความต้านทาน

บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:05:54 PM »

5.  ตัวความต้านทานชนิดพิเศษ  (Special  Resistors)

คือ  ตัวความต้านทานที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามอุณหภูมิและความเข้มของแสงที่มา ตกกระทบตัวความต้านทานนี้ อันได้แก่ เทอร์มิสเตอร์  (Thermister)  และ แอล ดี อาร์ (LDR : Light Dependent  Resistor)

เทอร์มิสเตอร์  (Thermister) เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงกล่าวคือ  ค่าความต้านทานในตัวมันจะเปลี่ยนไปกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง  โดยพื้นฐานแล้วจะเป็นตัวความต้านทานแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Non-Linear)  ผลิตออกใช้งานในรูปร่างขนาดต่าง ๆ กัน บ้างก็มีรูปเป็นจานเล็ก ๆ และบางประเภทเป็นแท่งเล็ก ๆ คล้ายกับตัวความต้านทาน เทอร์มิสเตอร์ จะมีอยู่ 2 ประเภท แบ่งตาม  ส.ป.ส.  ของอุณหภูมิ (Temperature-Coefficient)  คือ
1.  แบบ  NTC  (Negative  Temperature  Coefficient)  คือ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานจะลดลง
เป็นชนิดที่ปกติจะมีความ ต้านทานสูงเมื่อได้รับความร้อน ค่าความต้านทานจะต่ำลง ใช้งานด้านการตรวจสอบความร้อนเพื่อควบคุมระดับการทำงาน เช่น ในวงจรขยายเสียงที่ดีใช้ตรวจจับความร้อนที่เกิดจากการทำงานแล้วป้อนกลับไปลด การทำงานของวงจรให้น้อยลง เพื่ออุปกรณ์หลักจะไม่เกิดความร้อนมากจนเกินไป


2.  แบบ  PTC  (Positive  Temperature  Coefficient)  คือ  เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
เป็นชนิดที่ปกติจะมีค่าความต้านทานต่ำ เมื่อได้รับความร้อนจะทำให้มีค่าความต้านทานสูงขึ้นตามลำดับอุณหภูมิ นำไปใช้ตรวจสอบระดับความร้อน หรือทำให้เกิดความร้อนขึ้นเพื่อควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับขดลวด  เช่น วงจรล้างสนามแม่เหล็กอัตโนมัติของเครื่องรับโทรทัศน์สี (Degaussing coil) เป็นต้น






แอลดีอาร์ (LDR : Light Dependent Resistor) คือ ความต้านทานชนิดที่ไวต่อแสง กล่าวคือ ตัวความต้านทานนี้สามารถเปลี่ยนสภาพทางความนำไฟฟ้า ได้เมื่อมีแสงมาตกกระทบ บงครั้งเรียกว่าโฟโตรีซีสเตอร์ (Photo  Resistor)  หรือ โฟโตคอนดัคเตอร์  (Photo Conductor)  เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ  (Semiconductor)  ประเภทแคดเมี่ยมซัลไฟด์ (Cds : Cadmium Sulfide)  หรือแคดเมี่ยมซิลินายส์ (CdSe : Cadmium Selenide)  





ตัวต้านทานฟิวส์
 ตัวต้านทานแบบนี้จะมีค่าความต้านทานคงที่ เมื่อมีกระแสไหลผ่านมากเกินไป ตัวต้านทานชนิดนี้จะทำหน้าที่
จำกัดการไหลของกระแส หรือทำหน้าที่เป็นฟิวส์ตัดการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ให้ผ่านวงจร


* LDR.jpg (87.52 KB, 500x375 - ดู 22646 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:06:53 PM »

3.  วิธีการอ่านค่าความต้านทาน

การอ่านค่าความต้านทานของรีซีสเตอร์มีอยู่  2  วิธี  คือ
วิธีที่  1  การอ่านค่าความต้านทาน  ค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาด  และค่าอัตราทนกำลังไฟฟ้า  จากค่าที่พิมพ์ติดบนตัวรีซีสเตอร์ได้เลย    ส่วนมากจะเป็นรีซีสเตอร์แบบไวร์วาวด์  ซึ่งจะเป็นตัวความต้านทานที่มีขนาดใหญ่




วิธีที่  2  การอ่านค่าที่เป็นโค้ดสีของความต้านทาน  (Resistor  colour  Code) จะเป็นตัวความต้านทานที่มีอัตราทนกำลังไฟฟ้าต่ำ ๆ ส่วนมากจะเป็นตัวความต้านทานพวก  คาร์บอน, ฟิล์มคาร์บอน, ฟิล์มโลหะ
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:41:08 PM »

ตัวต้านทานแบบ SMT

ตัวต้านทานแบบ SMT
ตัวต้านทานแบบประกบผิวหน้า ระบุค่าความต้านทานด้วยรหัสตัวเลข โดยตัวต้านทาน SMT ความแม่นยำปกติ จะระบุด้วยรหัสเลข 3 หลัก สองหลักแรกบอกค่าสองหลักแรกของความต้านทาน และ หลักที่ 3 คือค่าเลขยกกำลังของ 10 ตัวอย่างเช่น "472" ใช้หมายถึง "47" เป็นค่าสองหลักแรกของค่าความต้านทาน คูณด้วย 10 ยกกำลังสอง  โอห์ม ส่วนตัวต้านทาน SMT ความแม่นยำสูง จะใช้รหัสเลข 4 หลัก โดยที่ 3 หลักแรกบอกค่าสามหลักแรกของความต้านทาน และ หลักที่ 4 คือค่าเลขยกกำลังของ 10


การระบุค่าในเชิงอุตสาหกรรม
ในทางอุตสาหกรรม จะระบุค่าความต้านทานด้วยเลข 3 หลัก สองหลักแรกเป็นตัวเลขค่าความต้านทาน และ หลักที่ 3 ระบุจำนวนเลข 0 ตามหลังเลขค่าความต้านทานสองหลักแรก
สำหรับ ค่าความต้านทานที่น้อยกว่า 10Ω ตัวอักษร (G) ซึ่งใช้แทนในตำแหน่งตัวเลขหลักที่ 3 ใช้หมายถึงคูณค่าสองหลักแรกด้วย 0.1
ตัวอย่าง: 27G หมายถึงค่าความต้านทาน 2.7Ω

ตัวเลขหลักที่ 4 ที่ตามหลังเลขระบุค่าความต้านทาน คือ ค่าเปอร์เซนต์ขอบเขตของความเบี่ยงเบน
ตัว เลขแทนค่าขอบเขตของความเบี่ยงเบน 5%, 10% and 20% คือ 5, 1 และ 2 ตามลำดับ
ค่า อัตรากำลังระบุเป็นตัวอักษร 2 ตัว นำหน้าตัวเลขรหัสระบุค่าความต้านทาน คือ BB, CB, EB, GB, HB, GM และ HM สำหรับ , 1, 2, 3 และ 4 วัตต์ ตามลำดับ
 สิ่ง ที่แตกต่างระหว่าง อุปกรณ์ระดับคุณภาพ เชิงพาณิชย์ และ เชิงอุตสาหกรรม คือ ช่วงอุณหภูมิของการใช้งาน

อุปกรณ์ในเชิงพาณิชย์ : 0 deg.C to 80 deg.C
อุปกรณ์ในเชิงอุตสาหกรรม : -25 deg.C to 85 deg.C



ตัวต้านทานแบบประกบผิวหน้า ระบุค่าความต้านทานด้วยรหัสตัวเลข โดยตัวต้านทาน SMT ความแม่นยำปกติ จะระบุด้วยรหัสเลข 3 หลัก สองหลักแรกบอกค่าสองหลักแรกของความต้านทาน และ หลักที่ 3 คือค่าเลขยกกำลังของ 10 ตัวอย่างเช่น “472” ใช้หมายถึง “47” เป็นค่าสองหลักแรกของค่าความต้านทาน คูณด้วย 10 ยกกำลังสอง โอห์ม

ส่วนตัวต้านทาน SMT ความแม่นยำสูง จะใช้รหัสเลข 4 หลัก โดยที่ 3 หลักแรกบอกค่าสามหลักแรกของความต้านทาน และ หลักที่ 4 คือค่าเลขยกกำลังของ 10



บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 09:45:45 PM »

กำลังวัตต์

ตัวต้านทานมีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ไปจนถึงหลาย ๆ สิบวัตต์ตามแต่งานที่ใช้โดยทั่วไปชนิดของตัวต้านทานที่มักใช้กันบ่อย ๆ คือ ตัวต้านทานจำพวก คาร์บอน ฟิล์มคาร์บอน และฟิล์มโลหะ ตัวอย่างแสดงดังรูปที่


กำลังไฟฟ้าในตัวต้านทานเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทาน โดยกำลังไฟฟ้านี้จะมีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt) ซึ่งตัวต้านทาน ที่มีใช้กันก็มีขนาดตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ไปจนถึงหลายร้อยวัตต์



แสดงค่ากำลังไฟฟ้า 10w,5w,3w,2w,1w,1/2w,1/4w,1/8w.

ถ้าเราใช้ตัวต้านทานที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำกว่ากำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในวงจร ก็อาจจะทำให้ตัวต้านทานร้อนจนอาจะไหม้ได้ แต่ในวงจรบางแบบก็ต้องการให้ความร้อนนี้เกิดขึ้นมา เช่น ในอุปกรณ์ทำความ ร้อนฮีทเตอร์ (heater) ตัวกำเนิดความร้อนก็คือ ตัวต้านทานที่กำลังสูง ซึ่งทำมาจากลวดนิโครม กำลังไฟฟ้านี้จะเกิดจาก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด แต่ในวงจรวิทยุความร้อนที่เกิดจากตัวต้านทานนั้นไม่ดี เพราะฉะนั้น วงจรก็ต้องมีการเลือกตัวต้านทานให้มีอัตราทน กำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับวงจร ในรูปที่ 3 เป็นรูปของตัวต้านทานขนาดต่างๆ ที่สามารถพบได้ทั่วไป



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!