BasicLite
เมษายน 19, 2024, 10:15:48 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การสร้างโครงงาน  (อ่าน 10035 ครั้ง)
todaystep
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: มกราคม 31, 2009, 01:33:25 PM »

กระบวนการการสร้างโครงงานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์

http://www.todaystep.com/wiki/doku.php?id=wiki:%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99

1. การศึกษาและออกแบบบนกระดาษ


ศึกษาการออกแบบวงจร หลักการทำงาน ร่างวงจรในกระดาษ หรือในโปรแกรมจำลองการทำงาน

2. ทดลองต่อบนแผ่นโปรโต้บอร์ด



เพื่อทดสอบการทำงานเบื้องต้น โดยการต่อวงจรบนโปรโต้บอร์ด ทำการแก้ไข และปรับปรุงวงจร

3. ทดลองต่อโดยใช้แผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์



ในการทำตัวต้นแบบ อาจต่อวงจรเบื้องต้น โดยใช้แผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์

4.ออกแบบแผ่นวงจรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์


ใช้โปรแกรมออกแบบ PCB ต่างๆ เช่น Protel เพื่อสั่งกัดแผ่น PCB จริง




สั่งกัดแผ่น PCB หรือกัดด้วยตนเอง

6. ขบวนการประกอบแผ่นวงจร
1.ศึกษาหลัการทำงานของวงจรอย่างละเอียด
2.ตรวจนับและตรวจสอบค่าของอุปกรณ์ และ ลายวงจรของแผ่นวงจรพิมพ์
- แยกอุปกรณ์เป็นประเภท หรือมีค่าเท่ากันไว้ในกลุ่มเดียวกัน
3.ใส่ตัวอุปกรณ์เรียงจากตัวที่มีความสูงน้อยที่สุดขึ้นไป



4.ประกอบอุปกรณ์ โดยการบัดกรีอุปกรณ์ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง

5.ตัดขาอุปกรณ์ ให้สั้น และระวังการกระเด็นของขาอุปกรณ์

6.ตรวจสอบการใส่อุปกรณ์อีกครั้ง ก่อนจ่ายไฟเลี้ยงเข้าสู่วงจร
7.ทำความสะอาดพิมพ์
8.จ่ายไฟเลี้ยงวงจร และทดสอบการทำงาน
-ตรวจสอบลายทองแดง และอุปกรณ์ ตรวจสอบด้วยตาเปล่าว่ามีจุดไหนที่บัดกรี แล้วทำให้เศษตะกั่วลัดวงจรได้บ้าง ทิศทางของอุปกรณ์ที่มีขั้ว -ตรวจสอบแรงดันไฟเลี้ยง โดยให้ใช้มัลติมิเตอร์ตั้งค่าการวัดที่ตำแหน่ง VDC วัดที่ขั้วของอแดปเตอร์ หรือหม้อแปลงที่จะนำมาใช้งานว่า มีแรงดันไฟออกมาหรือไม่




9.ประกอบลงกล่องเพื่อความปลอดภัยและสวยงาม






บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2009, 08:00:50 PM »

เคล็ดลับการประกอบโครงงานอิเล็กทรอนิกส์

1. ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกอย่าง จำนวน สภาพดีหรือเสีย และคุณสมบัติตรงกับความต้องการหรือไม่
2. แยกอุปกรณ์ออกเป็นหมวดๆ เช่น สี , ชนิด หรือลำดับการใส่ประกอบ
   2.1 เพื่อความสะดวก อาจเสียบอุปกรณ์ลงแผ่นโฟม
3. ลงมือประกอบวงจร โดยใส่อุปกรณ์ที่มีขนาดความสูงจากต่ำไปหาสูง เช่นไล่ตั้งแต่ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ
3.1 ควรหันแถบสีของความต้านทาน หรือค่าของตัวเก็บประจุไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสะดวกในการอ่านค่า
3.2 การดัดขาอุปกรณ์ ควรวัดขนาดของชาวงขาอุปกรณ์บนแผ่น PCB ก่อน แล้วใช้คีมปากจิ้งจกดัดขาอุปกรณ์
3.3 เมื่อใส่อุปกรณ์แล้ว ให้ดัดขาให้เอียงไปเล็กน้อย เพื่อไม่ให้อุปกรณ์หลุดจากแผ่น PCB     
3.3 การลงอุปกรณ์ควรลงและบัดกรี อุปกรณ์ที่มีระดับสูงต่ำใกล้เคียงกัน
   3.4 ระมัดระวังการใส่อุปกรณ์ที่มีขั้ว เช่น LED ตัวเก็บประจุ IC เพราะอาจทำให้อุปกรณ์เสียได้เมื่อวงจรทำงาน
4. การบัดกรี

5. การตัดขาอุปกรณ์ ให้สูงจาก PCB ประมาณ 3 มิลลิเมตร
5.1 ขาอุปกรณ์ที่ตัด สามารถนำมาใช้ทำสายจั๊มพ์หรือต่อซ่อมวงจรได้

6. ก่อนจ่ายไฟให้วงจรทำงาน ควรไล่วงจรเพื่อตรวจสอบวงจรอีกครั้ง และตรวจเช็คการบัดกรี อาจมีเศษตะกั่วหลงติดตรงลายวงจร ทำให้เกิดการลัดวงจรได้

7. โครงงานที่สำเร็จแล้วควรเก็บลงกล่อง เพื่อความสวยงามและง่ายต่อการจัดเก็บ
7.1 ปลดหรือถอดแบตเตอรี่ ออกทุกครั้ง เมื่อไม่ใช้งาน และไม่ควรใส่ไว้ในลังถ่าน เพราะเมื่อถ่านไฟฉายเสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งาน จะมีสารเคมีออกมาทำลายวงจรหรือขั้วถ่านได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!