BasicLite
มีนาคม 29, 2024, 09:17:39 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: R Pullup , Pulldown  (อ่าน 26477 ครั้ง)
todaystep
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2009, 08:05:42 PM »

โดยทั่วๆไปการต่อDigital Switch Inputให้ทำงานร่วมกันกับไมโคคอลโทนเลอร์นั้น จะมีวิธีการต่อ 2ชนิด คือแบบ Pullup และแบบ Pulldown


Pullup ทำให้เกิด Active Low "0"



Pulldown ทำให้เกิดActive High "1"

-Pullup
ตัวต้านทานจะต่อเข้ากับVcc(+5V)เพื่อรักษาระดับของแรงดันให้คงที่ ทำให้อยู่ในสถานะ"1"ตลอดเวลา  และเมื่อกดSwitch จะให้สถานะเป็นลอจิก"0" หรือที่เรียกว่าActive Low เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลลงGroundทันที  ส่วนใหญ่นิยมแบบPullupมากกว่า เพราะ้วงจรจะมีความปลอดภัยจากสัญญาณรบกวนได้ดี

-Pulldown
ตัวต้านทานจะต่อเข้ากับGroundเพื่อรักษาระดับของแรงดันให้คงที่ ทำให้อยู่ในสถานะ"0"ตลอดเวลาและเมื่อกดSwitch จะให้สถานะเป็นลอจิก"1"หรือที่เรียกว่าActive High เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปยังVcc(+5V)ทันที
สรุป ง่ายๆก็คือ  การต่อPull-up หรือ Pull-Downd มีไว้ก็เพื่อให้แน่ใจว่า แรงดันที่ต่อเข้ากับขาของตัวMicrocontrollerจะคงอยู่ในสภาวะที่ถูกต้อง   เมื่อยังไม่ได้กดSwitchแรงดันที่ได้คือ5Vแต่เมื่อเรากดSwitchแรงดันจะ เปลี่ยนเป็น0Vทันที  การต่อแบบPull-Downdผลที่ได้จะตรงข้าม    คือเมื่อยังไม่ได้กดSwitchแรงดันที่ได้คือ0V   เมื่อกดSwitchแรงดันจะเปลี่ยนเป็น5V  ทั่วๆไปจะนิยมPull-up  ทำให้สัญญาณออกมาเป็นActive low        เพราะจะทำให้วงจรมีความปลอดภัยมากกว่าหากเกิดปัญหาขึ้นตามมา


วงจรดิจิตอลที่สร้างจากไอซีลอจิกตระกูลต่างๆ สามารถนำไปขับอุปกรณ์ภายนอกได้ เรียกว่าการอินเทอร์เฟส (Interface) สำหรับไอซีลอจิกตระกูลต่างๆ เช่นตระกูล TTL เอาต์พุตของมันสามารถนำไปขับอินพุตของลอจิกเกตตระกูลเดียวกันได้ นอกจากนี้ถ้าเป็นไอซีลอจิกที่ต่างตระกูลกันเราสามารถเชื่อมต่อกันได้เช่นกันซึ่งมีด้วยกันหลายๆ แบบดังที่จะกล่าวต่อไปในบทนี้ นอกจากนี้ในบทนี้ยังจะกล่าวถึงการนำไอซีลอจิกเกตไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอีกหลายๆ ชนิด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการนำไปประยุกต์ให้งานในด้านต่างๆ ต่อไป

1. ระดับลอจิกและนอยซ์มาจิน (Logic levels and noise margin)
ถ้าพิจารณาอุปกรณ์ต่างๆ ในงานอิเล็กทรอนิกส์ มักพิจารณาในเทอมของโวลท์เตจ, กระแส และ ความต้านทาน หรืออิมพีแดนซ์ (impedance) ในบทนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติทางด้านโวลท์เตจ (voltage characteristics) ของไอซี TTL และ CMOS
ดับลอจิก 0 (Low) หรือระดับลอจิก 1 ( High) จะพิจารณาจากแรงดันทางไฟฟ้า ระดับลอจิกของไอซีตระกูล TTL แสดงดังรูป1.1 (ในที่นี้จะยกตัวอย่างเบอร์ 7404) พิจารณาทางด้านอินพุต ถ้าเป็น Low ระดับแรงดันจะอยู่ในช่วง GND ถึง 0.8 V ถ้าเป็น High ระดับแรงดันจะอยู่ในช่วง 20 V ถึง 5.5 V ถ้าหากทางด้านอินพุตมีระดับแรงดันในช่วง 0.8 V ถึง 2.0 V ไอซี TTL จะไม่รับรู้ว่าเป็น High หรือ Low เพราะไม่ได้กำหนดไว้



ถ้าหากมีอินพุตเข้ามา 3.2 V ไอซี TTL จะรับรู้ว่าเป็น High ถ้าหากมีอินพุตเข้ามา 0.5 V
จะรับรู้ว่าเป็น Low ถ้าหากเข้ามาเป็น 1.6 V จะไม่รับรู้ สำหรับทางด้านเอาต์พุตของไอซีอินเวอร์เตอร์ชนิด TTL ในรูปที่ 1.1 ถ้าเป็น Low เอาต์พุตจะมีค่าไม่เกิน 0.4 V

ถ้าเป็น High เอาต์พุตจะมีค่าตั้งแต่ 2.4 V ขึ้นไป
สำหรับในช่วง 0.4 V ถึง 2.4 V จะไม่มีนิยาม

โดยปกติแล้วเอาต์พุตของไอซี TTL เมื่อเป็น High จะมีค่าความต่างศักย์เท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของโหลดที่นำมาต่อทางด้านเอาต์พุตด้วย และค่าของความต่างศักย์เมื่อระดับลอจิกมีค่าเป็น Low หรือ High ทางด้านอินพุตและเอาต์พุตของไอซี TTL ชนิดต่างๆ จะมีค่าไม่เท่ากัน



สำหรับคุณสมบัติทางด้าน Input/Output ของไอซีดิจิตอล สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 TTL ,
กลุ่มที่ 2 CMOS 74C000 และ 4000 ,
กลุ่มที่ 3 74HC00 (CMOS) และ
กลุ่มที่ 4 74HCT00





จากรูปจะเห็๋นได้ว่าไอซี TTL จะรับแรงดันเป็นลอจิก "1" ตั้งแต่ +2.0 จนถึง 5.5 V และัลอจิก
"0" ตั้งแต่แรงดันขนาด 0.8 V ถึง 0V สำหรับแรงดันเอาต์พุตของไอซี TTL ในสภาวะลอจิก
"1" จะมีค่าระหว่าง +2.4 V ถึง +5 V โดยปกติจะมีแรงดันประมาณ +3.5 V ส่วนแรงดัน แรงดันลอจิก "0" จะมีค่าระหว่าง +0.4 V ถึง 0 V โดยปกติจะมีค่าประมาณ +0.1 V สำหรับ ไอซีตระกูล CMOS มีหลายอนุกรม เช่น 4000 และ 74C00 จะมีระดับแรงดันลอจิก
อินพุตและเอาต์พุตแตกต่างจากไอซี TTL โดยที่ระดับแรงดันอินพุตลอจิก "1" ของ CMOS
(4000 และ 74C00 ) สภาวะ "1" จะมีค่าตั้งแต่ +7.0 V ไปจนถึง +10 V ระดับแรงดันอินพุต
ในสภาะ "0" จะมีค่าตั้งแต่ +3.0 V ถึง 0 V ส่วนแรงดันเอาต์พุตที่เป็นลอจิก "1" จะมีค่า
แรงดันตั้งแต่ +9.95 V ถึง +10.0 V และระดับแรงดันเดาต์พุตที่เป็นลอจิก "0" มีค่าตั้งแต่
0.05 V ถึง 0 V



สำหรับไอซีมอสตระกูล 74HC00 เป็นชนิดที่ใช้กับแหล่งที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้าต่ำตั้งแต่
+2 V ถึง + 6 V ระดับแรงดันอินพุตของ CMOS อนุกรม 74HC00 นั้นลอจิก "1" มีค่าตั้งแต่
+3.50 V ถึง 5.0 V ส่วนระดับแรงดันของลอจิก "0" จะมีค่าตั้งแต่ +1.0 V ถึง 0 V สำหรับแรง
ดันเอาต์พุตที่้ลอจิก "1" จะมีค่าตั้งแต่ 4.9 V ถึง +5.0 V ระดับแรงดันในสภาวะ "0" จะมีค่า
ระหว่าง 0.1 V ถึง 0 V



ไอซี CMOS แบบอนุกรม 74HCT00 เป็นวงจรรวมที่ออกแบบให้เชื่อมต่อกับไอซี TTL ได้โดยตรง เพราะว่าแหล่งจ่ายไฟฟ้าขนาดแรงดัน 0 V - +5 V เหมือนกันการจ่ายแรงดัน ให้กับไอซีTTL นั้นก็คือลอจิก "1" จะป้อนแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ +2 V ถึง +5V ส่วนลอจิก "0" มีค่าแรงดันตั้งแต่ 0.8 V ถึง 0 V และค่าของแรงดันเอาต์พุตลอจิก "1" จะมีค่าตั้งแต่ + 4.3 V ถึง +5.0 Vโดยปกติแล้วจะมี 4.7 V และลอจิก "0" จะมีค่าแรงดันตั้ง 0.3 V ถึง 0 V




จาก http://www.yt.ac.th/teacher/vorawat/index_sub/inp_out1.html




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!