BasicLite
มีนาคม 29, 2024, 07:31:10 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อัตราทนกำลังวัตต์ ของ R  (อ่าน 43391 ครั้ง)
todaystep
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2009, 07:59:00 PM »

อัตราทนกำลังวัตต์



   การต่อตัวต้านทานต้องคำนึงเรื่องของกำลังวัตต์ด้วย เนื่องจากหากใช้กำลังวัตต์มากกว่าค่ากำลังวัตต์ที่ทนได้ของตัวต้านทาน อาจทำให้ตัวต้านทานไหม้ได้

และหากตามท้องตลาดไม่มีตัวต้านทานที่มีค่ากำลังวัตต์ที่ต้องการ จำเป็นต้องใช้ตัวต้านทาน หลายๆตัวมาต่อร่วมกัน เพื่อแบ่งค่ากระแสหรือแรงดัน เช่นการต่อแบบขนาน จะทำให้มีค่าทนกำลังวัตต์สูงขึ้น แต่การต่อแบบขนานจะทำให้ค่าความต้านทานลดลงด้วย  จึงจำเป็นต้องคำนวณเลือกค่าให้เหมาะสมด้วย และการเลือกอัตราทนกำลังวัตต์ที่สูงเกินไป ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เนื่องจากความต้านทานที่มีอัตราทนกำลังสูง จะมีราคาสูงตามไปด้วย

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
1. จงออกแบบดัมมี่โหลดทดสอบ เพื่อแทนลำโพงขนาด 8 โอห์ม 80วัตต์

วิธีคิด
ตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์สูงและหาซื้อได้ง่ายคือขนาด  10 วัตต์ จำเป็นต้องเอามาต่อกันเพื่อแบ่งกระแสออกมาเท่าๆกัน ( การต่อแบบขนานจะมีแรงดันตกคร่อมเท่ากัน แต่กระแสจะถูกแบ่งตามค่าความต้านทาน ) หรือแบ่งกำลังวัตต์ทดสอบออกมา

เมื่อต้องการกำลังวัตต์ 80 วัตต์ ต้องต่อตัวต้านทานที่มีค่าเท่ากัน เป็นจำนวน = 80/10  = 8ตัว

การต่อแบบขนานใช้ค่าความต้านทานเท่ากัน เมื่อมาต่อกัน n ตัว ค่าความต้านทานโดยรวมจะเท่ากับค่าความต้านทานหารด้วยจำนวนตัว เพราะฉะนั้นหากต้องการความต้านทานโดยรวมเท่ากับลำโพง คือ 8 โอห์ม จะได้ค่าความต้านทานที่ต้องซื้อมาต่อขนานกันคือ
      


ค่าความต้านทาน  =  จำนวนตัว x ค่าความต้านทานรวม    
                  =  8 ตัว  x 8 โอห์ม
                  = 64 โอห์ม

   เมื่อไปหาซื้อค่าความต้านทานค่า 64 โอห์ม 5 วัตต์ จำนวน 8 ตัว จากร้านค้า ปรากฏว่าไม่มีหรือหาซื้อไม่ได้ เนื่องจากเป็นค่าที่ไม่ใช่ค่ามาตรฐาน (ใกล้เคียงคือ 56, 100, 120 โอห์ม ) ต้องหาค่าใกล้เคียงที่มีค่ามากกว่าค่าที่ต้องการ และต้องหารด้วยค่าความต้านทานโดยรวมลงตัว (ต่อแบบขนานและใช้ค่าเท่ากันทุกตัว) ดังนั้นจึงเลือกใช้ค่าความต้านทานใหม่คือ 120 โอห์ม  การคิดค่าความต้านที่ได้ต้องมาคำนวณจำนวนตัวใหม่เพื่อให้ได้ค่าเท่ากับความต้านทานโดยรวมคือ
            จำนวนตัวที่ต้องซื้อ = ความต้านทาน / ค่าความต้านทานโดยรวม
                  = 120 โอห์ม / 8 โอห์ม
                  = 15 ตัว

   และเนื่องจากมีตัวต้านทานจำนวนมากกว่าเก่า (การคำนวณเดิม = 12 ตัว ) อัตราทนกำลังของดัมมี่โหลดชุดนี้คือ
          กำลังทนวัตต์       = ผลรวมกำลังวัตต์แต่ล่ะตัว
                  = 10 วัตต์ * 15 ตัว
                  = 150 วัตต์

   สรุปการต่อใช้งาน เลือกใช้ความต้านทานค่า 120 โอห์ม 10 วัตต์ จำนวน 15 ตัวมาต่อขนานกัน
บันทึกการเข้า
Admin
Administrator
Full Member
*****
กระทู้: 121



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 12:33:43 PM »

watt ของR มากกว่าที่วงจรกำหนดไว้ ทำได้หรือไม่ครับ



Watt ของ R ก็เหมือนกับบอกว่ามันทนความร้อนได้ดีแค่ไหน

ความร้อนมีผล ต่อการเปลี่ยนค่าความต้านทานครับ ร้อนมากความต้านทานเปลี่ยนมากโดยเฉพาะถ้า R มันทนความร้อนไม่ได้หรือมีการระบายความร้อนออกไม่ดี


Watt ของ R มากกว่าย่อมมีผลดีกว่าใช้ R ค่า Watt น้อยกว่าครับ


อาจจะมีส่วนในความปลอดภัยของวงจรนะครับ
อาธิในวงจรให้ใช้ 1/4W แล้วเกิดไฟเกินขึ้นมา R ใหม้ แต่ไม่ลามไปภาคอื่น
ถ้าใช้วัตต์สูงมากๆ R ไม่เป็นไรแต่ภาคอื่นเสียหายได้ครับ



ใช้ได้ครับ มันเป็นค่าที่สามารถทนกำลังไฟฟ้าได้ แต่ถ้ามากเกินไปจะทำให้เปลืองพื้นที่ และเปลืองเงินเนื่องจากมันจะมีขนาดและราคาสูงขึ้นด้วย

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!