BasicLite
มีนาคม 28, 2024, 09:19:28 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต่อแบบอนุกรม และแบบขนาน  (อ่าน 47911 ครั้ง)
win
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: ธันวาคม 11, 2008, 11:15:54 AM »

เคยรู้มาว่าการต่อ LED หลายดวง ต่อได้ทั้งแบบอนุกรมและขนาน แล้วมันแตกต่าง มีข้อดีข้อเสียกันอย่างไรคนับ มีตัวอย่างไหมครับ
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2008, 11:57:00 AM »

การนำ LED หลาย ๆ ตัวมาต่อใช้งานร่วมกัน

การต่อแบบ อนุกรม



การนำ LED หลาย ๆ ตัวมาต่ออนุกรมกัน โดยใช้ตัวต้านทานจำกัดกระแสเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ถ้าหลอดนึงขาด จะทำให้ทั้งชุดดับไปด้วย

LED สามารถนำมาใช้งานพร้อมกันในคราวเดียวหลาย ๆ ตัวได้โดยนำ LED มาต่ออนุกรมกัน และใช้แหล่งจ่ายแรงดันแหล่งเดียวในการไบแอสให้ LED ทำงานดังแสดงในรูปที่ 10 โดยแหล่งจ่ายแรงดัน จะต้องมีแรงดันมากกว่าผลรวมของแรงดันไบแอสตรงของ LED แต่ละตัว เพราะจำทำให้แหล่งจ่ายแรงดัน ไม่สามารถไบแอสให้ LED ได้เพียงพอ แต่ก็สามารถแก้ไขได้โดยนำวงจรเหล่านี้มาต่อขนานกัน




การต่อแบบขนาน





วงจรขับ LED หลายตัวพร้อมกันแต่การต่อแบบนี้วงจรจะกินกระแสค่อนข้างสูง

การนำ LED หลาย ๆ ตัวมาใช้งานพร้อม ๆ กันอีกแบบหนึ่งก็คือ การนำวงจรพื้นฐานจาก รูปที่ 1 มาต่อขนานกันดังแสดงในรูป แต่การต่อวงจรแบบนี้ค่อนข้าง จะกินกระแสมาก คือเท่ากับผลรวม ของกระแสที่จ่ายให้แก่ LED แต่ละตัว



การต่อแบบ LED ขนานกัน อนุกรมกับ R




วงจรลักษณะนี้ไม่สามารถทำให้ LED แต่ละตัวทำงานได้เท่า ๆ กันเพราะกระแสจะไหลมากใน LED ตัวที่มีแรงดันฟอร์เวิร์ดต่ำที่สุด

แสดงการนำ LED หลาย ๆ ตัวมาใช้งานพร้อม ๆ กันอย่างไม่ถูกต้อง จากวงจรจะเห็นได้ว่า LED ไม่มีทางที่จะทำงานพร้อม ๆ กันได้ เพราะแรงดันไบแอสตรงของ LED แต่ละตัวจะมีค่าไม่เท่ากัน ในกระบวนการผลิตก็ไม่สามารถทำให้ LED ทุกตัวมีค่าแรงดันไบแอสตรงเท่ากันพอดีได้ ซึ่งจะทำให้มี LED ตัวใดตัวหนึ่งกินกระแสมากกว่าตัวอื่น ๆ และทำให้ LED ตัวที่เหลืออยู่ได้รับกระแสเพียงเล็กน้อยหรือ อาจไม่ได้รับกระแสเลยหากแรงดันไบแอสของ LED ต่างกันมาก

จาก..
http://electronics.se-ed.com/contents/140s135/140s135_p04.asp



ในการต่อใช้งานจริง นิยมต่อแบบผสม กล่าวคือ นำ LED มาอนุกรมกันก่อน เป็น 1 ชุด ต่อเข้าไฟเลี้ยง แล้วนำชุดอื่นๆ มาต่อขนานกัน

เช่น
ต่อใช้งานแรงดันไฟเลี้ยง 12VDC จะใช้ LED 3 หลอดมาต่ออนุกรมกับตัว R หรือตัวต้านทาน เพื่อจำกัดกระแสไหล

หากต้องการหลายดวง เพื่อเพิ่มความสว่าง จะเพิ่มจำนวนชุดให้มากขึ้น

การต่อแบบนี้มีข้อดีคือ หากดวงใดดวงนึงเสีย หลอดจะดับไปทั้งชุดคือ เพียง 3 ดวง และใช้ตัว R เพียงชุดล่ะ 1 ตัวเท่านั้น



* 2.png (4.36 KB, 181x228 - ดู 30014 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!