BasicLite
ตุลาคม 07, 2024, 09:33:05 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความฝันกับความจริง  (อ่าน 11215 ครั้ง)
Admin
Administrator
Full Member
*****
กระทู้: 121



เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 10:16:04 AM »

น้องๆหลายคนเริ่มทำโครงงานกันบ้างแล้ว บางคนนำโครงงานไปเสนออาจารย์เอง บางคนรับโครงงานอาจารย์มาทำ บางคนอยากประดิษฐ์อะไรเป็นของตนเอง

หลายๆคำถาม ที่เกิดขึ้น เช่น "ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี" "อาจารย์ว่าไม่ง่ายไป"  มันได้บ่งบอกถึงความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ จึงอยากแบ่งปันเรื่องราวให้อ่านกัน

ในการวิจัยและทำโครงงานต่างๆ ล้วนมีปัจจัยหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง ทั้งระยะเวลา แรงงาน และเงิน หลายๆโครงงานไม่สำเร็จ นักศึกษาเรียนไม่จบ ไม่ผ่านการสอบโครงงาน ล้วนมีที่มาที่ไป

- งานวิจัยของอาจารย์ ทำยาก อาจารย์ไม่มีคนช่วย ก็พยายามเอาลูกศิษย์ไปตก ระกำลำบากกับตน เพียงเพื่อตนเองได้ผลงาน
- งานวิจัย บางอย่างต้องใช้เวลาและเทคโนโลยี ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใช้ ต้องซื้อหาราคาแพง
- นักศึกษา ไม่มีความพยายาม  ทำโครงงานที่เด็กก็ยังทำได้ เอามาทำ
- ไม่มีเวลาทำ เพื่อนในกลุ่มไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีคนทำเป็น
- จ้างคนอื่นทำโครงงานให้ และไม่เข้าใจการออกแบบ
ฯลฯ

ข้อแนะนำ
1. โครงงานจะเป็นผลงาน ในการสมัครงาน และถือว่าเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง พยายามทำให้ใช้งานได้จริง
2. ทำโครงงานที่ใช้ในชีวิตจริงได้ อาจมาสร้างเป็นธุรกิจได้
3. ดูโครงงานเก่าๆ เป็นต้นแบบ จะได้ต่อยอดง่ายขึ้น
4.  ดูระยะเวลา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ลู่ทางการประสบความสำเร็จด้วย
5. เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่เก่งและมีความรู้เกี่ยวกับโครงงาน หรือมีเงินอุดหนุนเยอะๆ จะช่วยเราได้มาก
6. มีเวลาให้รีบทำโครงงานให้เสร็จ จะได้มีเวลาแก้ไขเพิ่มเติม และส่วนใหญ่มันจะเริ่มมีอาการเสียก่อนส่งไม่กี่วัน จะแก้ไขไม่ทันเอาได้
7. แบ่งงานกันทำ แล้วแต่ความถนัด ใครดูท่าไม่สนใจ ไม่ให้ความร่วมมือ รีบเปลี่ยนคน งานนี้มีตายหมู่ได้
8. เมื่อโครงงานเริ่มส่อเค้าว่าล้ม ต้องรีบแก้ไขหรือเปลี่ยนโครงงานทันที อย่าพยายามฝืน


บทที่ 1 จินตนาการ

ความฝัน
เมื่อก่อนไม่มีเครื่องบิน คนคิดจะทำเครื่องบิน พวกก็หาว่าบ้า เหล็กจะลอยไปได้ไง
พวกที่คิดว่าจะสร้างยานไปนอกโลก ต่างมีแต่พวกว่าเป็นคนบ้าและอีกมากมาย ที่โลกสมัยนั้นยังไม่มี....ยังไม่เกิด


แล้วทำได้ขึ้นมา ก็ อึ้งทั้งโลกก่อให้เกิดวิทยาการใหม่ จนเป็นโลกแห่งเทคโนโลยีไม่คิดที่จะ"ริ" แล้วมันจะ"เริ่ม" จากตรงไหน

จินตานาการเพ้อเจ้อที่โดนกล่าวหาซึ่งกลายมาเป็นความภูมิใจของมนุษยชาติ ทั้ง ไอสไตล์ ไมเคิล ฟาราเดย์ กาลิเลโอ และ อีกมากมาย....ล้วนมีแต่คนว่าเค้าบ้า... แล้วตอนนี้มีใครว่าเค้าเหล่านั้นบ้าไหม????

งานวิจัย ในไทยมีมากมาย บางคนได้งบวิจัยไปหลายล้าน แต่ได้ผลงานที่เอาไปใช้งานจริงไม่ได้ เอาไปทำในเชิงธุรกิจไม่ได้ มีถมเถ  นอกจากรัฐต้องเสียงบประมาณไปเปล่าๆแล้ว งานวิจัยที่ไม่รู้วันสำเร็จก็ผลาญเงินได้ทุกปี งานวิจัยพวกนี้เหมาะกับพวกอาจารย์มากกว่า เพราะมันต้องใช้เวลาในการวิจัย หากเลี่ยงได้ก็เลี่ยง....
(ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยของอาจารย์ ที่กำลังหา....มาเป็นหนูทดลอง)


ความจริง
จินตนาการ โดยมีฐานความรู้รองรับแน่นหนา เขาเรียกความคิดสร้างสรรค์
จินตนาการ โดยล่องลอย หาแก่นสารมิได้ เขาเรียก เพ้อเจ้อ

นักประดิษฐ์สติเฟื่องลมๆแล้งๆ มีอยู่มากมายทุกยุคทุกสมัย และในจำนวนคนบนโลกเป็นร่วมห้าพันล้านคนในปัจจุบันจะหาคนอย่างไอน์สไตน์สักคน ที่จินตนาการแล้วบันดาลเป็นทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่สุดยอด ก็ยากเต็มที

ทางทฤษฎีพอเป็นไปได้ แต่ทางปฏิบัติ แทบเป็นไปไม่ได้เลย

งบหลักล้านเพื่อจินตนาที่เป็นจริง  เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตยแต่เพื่อความหรูและอวดให้โลกเห็นว่า i can
โดยไม่สนสายตาชาวโลกว่ามันเป็นสิ่งสุดยอด หรือ ว่าเอาเงินมาทิ้ง

ทำเอามันส์ ทำเอาหน้า ทำเอาสนุก ทำเพื่อความพอใจส่วนตัว ทำเอาเป็นงานอดิเรกเพลิดเพลิน
มันก็ต่างเป็นเหตุผลนึงที่พอรับฟังได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล

แต่มันคนละเรื่องกับ การเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ ความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ หรือ การสร้างสรรสิ่งดีๆให้เกิดขึ้น

เพราะการทำเอามันส์ อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น อาจจะแพงกว่าที่เขาทำขาย ด้วยซ้ำ
แต่ก็ได้ความมันส์ไปแทน

ดังนั้น ต้องแยกกันพูดว่า จะทำเอามันส์/เอาความพึงพอใจส่วนตัว/ทำเป็นงานอดิเรก
หรือจะทำเพื่อประสิทธิภาพ/ความคุ้มทุน/นวัตกรรมใหม่/สิ่งที่ดีกว่า


โครงงานไม่จำเป็นต้องใช้งบเยอะ หรือเทคโนโลยีที่สูงส่ง แต่พยายามเน้นการใช้งานได้จริง เป็นดีที่สุด คุ้มกับเงินที่ลงทุน อาจจะ
1. ต่อยอดจากโครงงานอื่นๆ
2. ผสมผสาน เป็นระบบมากขึ้น
3. ลดทุนหรือขั้นตอนที่ซับซ้อน ให้ผลิตได้ง่ายขึ้น


บทที่ 2 ลงมือทำ
หลายครั้ง ที่ไม่ก้าวหน้า หลายๆครั้งที่เสียเงินไปฟรีๆ แต่ทุกครั้งน้องจะได้ประสบการณ์ เอดิสันลองผิดลองถูกในการหาวัสดุมาทำไส้หลอดไฟกว่าพันครั้ง นั่นทำให้เรามีหลอดไฟใช้มาในทุกวันนี้ แต่ทุกครั้งเอดิสันหาข้อผิดพลาดและทำการปรับปรุง หากลองผิดลองถูก โดยไม่วิเคราะห์ ก็จะหลงทาง เสียงบประมาณ เหมือนการเมืองไทย เหมือนการผลาญงบของรัฐบาลที่แก้ไม่ถูกจุด เหมือนการขุดท่อทั้งปีทั้งชาติ .... นั่นไม่ใช่ไม่รู้แต่เพราะการแก้ที่ปลายเหตุ ได้ผลาญงบและได้กิน(งบ)


สรุป
เมื่อคิดจะทำ จงลงมือทำ ค้นคว้าและพยายาม ในขีดจำกัดของตน

 
บันทึกการเข้า

todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 11:43:55 AM »

ความจริงที่ไม่มีใครบอก
ญี่ปุ่น สอนให้เด็กทำหุ่นยนต์บังคับมือตั้งแต่มัธยม แต่เวลาแข่งกับไทย ไทยชนะหลายครั้ง ด้วยเทคโนโลยีเหวกับฟ้า เนื่องจาก

- พี่ไทย อาจารย์ลงมือมาช่วยทำด้วยตนเอง ของที่โน่นอาจารย์เพียงแนะนำ
- การแข่งขันเขาไม่ได้ดูที่ชนะ แต่เขาวัดกันว่าประเทศไหนมีเทคโนโลยีไปถึงไหนแล้ว
- เด็กที่โน่น มัวแต่ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่มีเวลามาปรับปรุงแก้ไขหุ่นของตนเอง ส่วนพี่ไทยใช้รีเลย์กับสวิทช์ เน้นการวางแผน การควบคุม การซ้อม การโม เอา  1 2 3 มายำ รวมร่างใหม่ ได้ที่ 1 กลับมาด้วยความถูมิใจ แต่.....ญี่ปุ่นหัวเราะอยู่ในใจ....เพราะเขามีหุ่นเดิน 2 ขา มาเกือบสิบปีแล้ว ส่วนไทยยังแข่งกันทำสถาบันใครสถาบันมัน มาสิบปีแล้วเหมือนกัน แต่ยังเดินไม่ได้ ฮา ......

- หุ่นยนต์กู้ระเบิดไทย กู้ภัย ราคาไม่กี่แสน ไม่เคยเอามาใช้งานจริง เนื่องจากความน่าเชื่อถือ และทหารมีงบซื้อของนอกแล้ว ตัวล่ะหลายล้าน...ฮา
- เด็กไทย เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นย์ไมโครได้ แต่ทำวงจรเองไม่เป็น โมเองไม่ได้ ส่วนใหญ่ซื้อเอา แก้โค๊ดนิ๊ดๆหน่อยๆ

ขนาดหุ่นย์บีมไม่ต้องเขียนโปรแกรมควบคุม อาจารย์บางคนยังถามว่า "ไม่มีโปรแกรมแล้วมันทำงานได้เหรอ" ......ฮา

ปัญหาที่ถกเถียงเถียงกันระหว่างมุมมอง
1. เรื่องกล่องสบู่
ปัญหา ในการผลิตอาจมีการหลุด โดยอาจไม่มีสบู่ในกล่องได้  

การแก้ปัญหาของไทย
- เอาพัดลมเป่ากล่องสบู่ หากไม่มีสบู่ในกล่อง กล่องจะปลิว

การแก้ปัญหาของอเมริกา  
- ใช้กล้องเอ็กชเรย์ ประมวลผลภาพ ใช้กลไกในการคัด สร้างระบบนับจำนวน ประมวลผลการผิดพลาด
ทุกวันนี้เทคโนโลยีนี้ใช้ในวงการทหาร หุ่นยนต์ สายลับ แต่คนไทย "พัดลม" ไม่ได้ช่วยอะไรในวิจัยและเติบโตของเทคโนโลยี.....


2. เรื่องเขียนข้อความในอวกาศ
ปัญหา นักบินอวกาศไม่สามารถเขียนข้อความด้วยปากกาได้ เพราะน้ำหมึกในอวกาศไม่ตกลงมาที่ปลายปากกา


การแก้ปัญหาของรัสเซีย

- ใช้ดินสอเขียนแทนปากกา

การแก้ปัญหาของอเมริกา  
- ใช้งบประมาณหลายพันล้าน ทำหมึกพิเศษ ที่เขียนได้ในพื้นที่ไร้น้ำหนัก

ไม่มีอะไรผิดอะไรถูก ในการใช้ทรัพยากร ความรู้ ให้คุ้มค่า ที่ให้ผลเหมือนกัน และเทคโนโลยีมักจะเกิดจากจินตนาการ
วันนี้ เขาพิสูจน์แล้วว่าความรู้พื้นฐาน ประเทศที่พัฒนาแล้ว มิใช่ไม่รู้ (อย่างที่ไทยภูมิใจ)

แต่เขาคิดล้ำไปกว่าเรา......และเราเองยังต้องซื้อเทคโนโลยีเขามาใช้ ในทุกวันนี้

สิ่งที่คนไทยขาดอย่างมากคือ "พื้นฐานความรู้ และความคิด" และสิ่งที่จะสร้างได้คือ "การศึกษา"
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2009, 01:57:32 PM »

ไม่มีงบประมาณ

นักศึกษาท่านหนึ่ง ทำโครงงานสำเร็จ อาจารย์ที่ปรึกษาก็อยากให้ทดลองเอาไปใช้จริง ในสถานที่จริง เพื่อการพัฒนา
เครื่องนั่นคือ เครื่องนับเหรียญและคัดเหรียญอัตโนมัติ จะนำไปติดที่อู่รถเมล์แห่งหนึ่ง

บทพูด ระหว่างนักศึกษากับผู้อำนวยการอู่...

ผู้อำนวยการ : เอาอะไรมาล่ะ
นักศึกษา : เครื่องนับเหรียญและคัดเหรียญอัตโนมัติ ครับ
ผู้อำนวยการ : เจ้าหน้าที่ผมก็ตกงานน่ะสิ
นักศึกษา : .....งงงง.............. (แทนที่จะเอาคนไปทำอย่างอื่น)


อีกที่

ผู้อำนวยการ : ผมไม่มีงบประมาณหรอกน่ะ
นักศึกษา : ไม่ได้ขายครับ ให้ติดตั้งฟรีๆ เพื่อดูปัญหา
ผู้อำนวยการ : ผมมีเครื่องอยู่แล้ว
นักศึกษา : แต่เครื่องนี้แยกได้ทุกเหรียญนะครับ แสดงเงิน แสดงข้อมูลทันที และคนไทยทำด้วย
ผู้อำนวยการ : ต้องให้บอกอีกกี่ครั้ง ว่าผมไม่มีงบประมาณ
นักศึกษา : .....งงงง.............. (ตกลงอะไรคืองบประมาณ...)

ไป 2 ที่ไม่ได้เรื่อง เลยให้อาจารย์ออกโรง

ผู้อำนวยการ : อย่างว่าอย่างโน้นอย่างนี้เลยน่ะ
อาจารย์  : มีอะไรพูดกันตรงๆเลยครับ นักศึกษาได้เอาไปแก้ไข
ผู้อำนวยการ : ของไทยนี่ผมก็ว่าดี แต่ปีนี้ทางเราของบซื้อเครื่องนับเหรียญไปแล้ว เดี๋ยวผู้ใหญ่จะว่าได้
อาจารย์  : อ่อ ครับ
ผู้อำนวยการ : อีกอย่าง อาจารย์มีอะไรให้ผมบ้างล่ะ.....
อาจารย์ : .......งงงงง....

ทุกวันนี้เครื่องยังตั้งอยู่ที่ห้องวิจัย .................ฮา
บันทึกการเข้า
todaystep
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2009, 01:47:13 PM »

วิศวกร กับช่าง

มุมมอง ช่าง ผู้สูงวัย
"มาใหม่อีกแล้ว โว้ย ตูอยากรู้เหมือนกันปริญญาตรี กับ ป.4 ใครจะเก่งกว่ากัน"

เมื่อวิศวกร ตัดสินใจพลาด หรือทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้
"มันก็ทำอะไรไม่เป็น ดีแต่สั่ง "

เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเสีย
"วิศวกร ประสาอะไรซ่อมวิทยุ ก็ยังไม่ได้"

มุมมอง วิศวกร ผู้จบใหม่
"ปริญญาตรี ไม่ได้บอกว่าคุณต้องทำได้ทุกอย่าง แต่ที่ปริญญาตรีให้คือเรียนรู้ที่จะศึกษา"
"ประสบการณ์ คือสิ่งสะสมและต้องใช้เวลาเรียนรู้ วิศวกรจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจได้เร็ว"
"ข้อสอบที่ว่ายาก แต่ในชีวิตจริงการบริหารคน ยากกว่าการทำข้อสอบมามายนัก"
"ความรู้ การศึกษา ทำให้ผู้จบมองโลกกว้างกว่าคนที่มีความรู้น้อย "
"หากเกิดข้อผิดพลาด วิศวกรคือคนแรกที่ต้องรับผิดชอบ มิใช่ช่าง"

วิศวกรกับเจ้าของบริษัท

เจ้าของสั่งให้ทำอะไร สักอย่าง แต่บอกขั้นตอนไม่ละเอียด วิศวกรเลยทำเท่าที่สั่ง
เจ้าของ : คุณคิดเอง ไม่เป็นเหรอ

พอวิศวกร เริ่มสร้างสรรค์ คิดว่าน่าจะใช่ แต่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
เจ้าของ :  ทำไม ไม่ทำตามที่ผมสั่ง ทีหลังอย่าทำอะไรเกินคำสั่ง

เจ้าของรับงาน ที่ใหญ่เกินกำลัง และความรู้วิศวกร  วิศวกรได้ทัดทานเจ้าของ และเล็งเห็นหายนะในอนาคตแล้วว่า ขาดทุนแน่ๆ
แต่ต้องทำตามคำสั่ง
เจ้าของ : คุณไปแก้ให้จบ
วิศวกร : .......   ( ก็บอกตั้งแต่วันแรกแล้วว่า....งานนี้มีปัญหา)

หลายคน เลยได้แต่ทำตามสั่ง ยึดคติ  "ทำดีเสมอตัว ทำผิดพลาดมาโดนกระหน่ำเละ "
แต่เจ้าของเริ่มคิด "จ้างมันมาทำไม หากคิดไม่เป็น"


วิศวกร กับวิศวกร
หากจบจากที่เดียวกัน คุยกันถูกคอ ประสาสถาบันเดียวกัน
หากจบมาจากคนล่ะที่ ยิ่งเป็นคู่แข่งกัน จะโดนจับผิด เหยียด และดูถูก พอสมควร
เมื่อทำอะไรไม่ได้ หรือผิดพลาดขึ้นมา

สถาบัน A : ที่โน่น ไม่สอนเหรอ ผมได้เกรดซี ยังทำได้เลย
สถาบัน B : .... (ก็อาจารย์ฉัน มัวไปรับจ๊อบสอนแกไง ส่วนฉันต้องอ่านเอง)

ทุกวันนี้ หากมีใครถามว่าจบจากที่ไหน จะไม่ตอบ บอกแต่ว่า "รู้ไปเพื่ออะไร ดูกันที่ผลงานดีกว่า"
ไม่ใช่ไม่รักสถาบัน แต่เพราะไม่รู้ว่าคนถามมีจุดประสงค์อะไร...ทำให้เกิดความแตกแยก แบ่งชนชั้นระหว่างพนักงานเปล่าๆ

บางบริษััท สถาบันอื่นอย่าริไปสมัคร เล่นสี เล่นสถาบันกัน ต่อให้เข้าไปได้ ก็อยู่ร่วมกันยาก...

วิศวกร กับพนักงานอื่นๆ
พนักงานอื่นๆ : อยู่เกินเวลา ได้ โอที, เสาร์อาทิตย์ ได้หยุด ไม่ต้องเอางานไปทำที่บ้าน
วิศวกร : ไม่มีโอที กลับบ้านไปคิดแก้ปัญหาต่อ เสาร์อาทิตย์ อาจไปซื้อของเพื่อแก้ปัญหา หรือเอางานไปทำต่อที่บ้าน

เซล์ : ขายสินค้าได้ค่าคอม+เงินเดือน เวลามีปัญหาโยนให้วิศวกร
วิศวกร : มีแต่เงินเดือน ไม่มีค่าออกแบบ ต้องตามแก้ปัญหาที่เซลล์ ไปหลอกลูกค้าไว้ .....ฮา

สรุป
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ทุกคนมีค่าความเป็นคนเท่ากัน มีรัก โลภ โกรธ หลง เพียงแต่ใครจะระงับสิ่งเหล่านั้นได้มากว่ากัน
การดูถูก การเปรียบเทียบ การวัดรอยเท้ากัน เป็นสิ่งที่ติดนิสัยคนไทยมานาน เหมือนการสอบถาม อัตราเงินเดือนกัน
จนบางที่ ต้องห้ามพนักงานถามเงินเดือน หากรู้ไล่ออกทันที เนื่องจากทำให้เกิดการเปรียบเทียบ น้อยใจกันในหมู่พนักงานได้

แต่ทำไมไม่รู้...
- วิศวกรเป็นอาชีพลำดับที่สอง รองจากอาชีพเซล์ ที่เปลี่ยนงานบ่อยที่สุด....ฮา
(อาจเพราะ ไม่อยากมี มีกรอบ (แนวคิด อุปสรรค และไม่ได้ดั่งใจ ในบริษัท) มาขวางการเป็นผู้สร้าง  ซึ่งจะทำให้ไฟในตัวมอด ก็เป็นได้ )
- อาชีพที่มีเงินที่สุด คือเซลล์.....
บันทึกการเข้า
bampz_ampz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2009, 11:54:15 PM »

คมจริงครับ

เด็กไทยเขียนควบคุมMicrocontrollerได้แต่...ออกแบบวงจรไม่เป็น 

ผมก็เป็นเช่นนั้นครับ

 :D :D :D
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!