BasicLite
มีนาคม 19, 2024, 05:06:49 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การต่อขนาน Supply 2 ตัวที่แรงดันไม่เท่าก  (อ่าน 12328 ครั้ง)
todaystep
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: มิถุนายน 24, 2009, 12:56:17 AM »

ขอถามหน่อยครับ การต่อขนาน Supply 2 ตัวที่แรงดันไม่เท่ากัน แต่กระแสเท่ากัน เช่น

เช่น Supply  A  แรงดัน 3 V. กระแส 5A.

        Supply  B  แรงดัน 5 V. กระแส 5A.

มันจะทำให้ Supply เป็นยังไงครับ แรงดันจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือเท่ากับตัวที่มากที่สุด หรือเท่ากับตัวที่น้อยที่สุด

หรือเท่ากับ 8V. ครับ



คำตอบได้หลายอย่างเช่นในรูป

supply A = 3V, 5A (internal resistance 3/5=0.6โอม)
supply B = 5V, 5A (internal resistance 5/5=1 โอม)

แรงดันจะได้3.75V



แต่ถ้าทางการทำงานจริงๆเอาแลปพาวเวอร์ซัพพลายมา๒ตัวตัวแรกAแรงดัน๓โวล์๕แอม
ตัวที่สองBแรงดัน๕โวล์๕แอม
แล้วเอามาต่อขนานกันแรงดันไฟออกจะได้๕โวล์

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
เพราะพาวเวอร์ซัพพลายจะจ่ายกระแสออกได้เท่านั้น
มันจะไม่ยอมให้กระแสไหลกลับเข้าตัวมันได้เพราะมันมีใดโอดอยู่ข้างในครับ


ถ้าเป็นแหล่งจ่ายที่มาจากหม้อแปลงธรรมดาแล้วผ่านไดโอด+ คาปาซิเตอร์เฉยๆ ขนานได้ครับ แม้แรงดันไม่เท่ากันแต่แทบไม่มีประโยชน์ใดๆ
ตัว แรงดันต่ำกว่าไ่ม่ช่วยจ่ายกระแสใดๆ ครับ ตัวแรงดันสูงกว่าเหมาไปหมด  แต่ถ้าโหลดดึงหนักๆจนไฟตกลงเหลือเท่าตัวแรงดันต่ำกว่ามันก็จะเริ่มมีกระแส ช่วยจ่ายออกไปได้ แต่ นั่นแสดงว่าโหลดมันสูงเกินกำลังของตัวแรกแล้ว และตัวแรกมันก็จะไหม้ในที่สุด

แต่ถ้าไปขนานจากพวก output ของพวกสวิทชิ่้งมีโอกาสพังหรือวงจร over volt protect  ตัวแรงดันต่ำกว่าจะตัดการทำงานทันทีเพราะแรงดันขาออกมันเกิน(มันเกินมาจาก ซัพพลายข้างนอกย้อนเข้ามา) ก็จะเหลือแค่ตัวเดียวที่ทำงานอยู่ดี



พังหรือไม่ขึ้นอยู่กับวงจรของ PSU แต่การเอา PSU ที่แรงดันไม่เท่ากันมาต่อขนานกัน ไม่เกิดประโยชน์ครับ



จาก http://www.pantip.com/tech/electronics/topic/EE2776493/EE2776493.html




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2009, Simple Machines LLC Valid XHTML 1.0! Valid CSS!