BasicLite

ถาม-ตอบ => วิธีการประกอบโคมแอลอีดี => ข้อความที่เริ่มโดย: basiclite ที่ เมษายน 17, 2012, 11:03:22 PM



หัวข้อ: วิธีการประกอบโคมใต้น้ำแอลอีดี Bu1010W
เริ่มหัวข้อโดย: basiclite ที่ เมษายน 17, 2012, 11:03:22 PM
ทาง Basiclite ขอแนะนำวิธีการประกอบโคมไฟแอลอีดีรุ่น Bu1010

ซึ่งคุณสมบัติของโคมเป็นสแตนเลส IP68 และกระจกเป็นแบบ เท็มเปอร์ (http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2010/09/R9728703/R9728703.html) คือประมาณว่ากันความร้อนได้สูงกว่า 150 องศา

โดยปรกติโคมไฟชนิดนี้จะออกแบบมาใช้กับหลอด QR111 ซึ่งความร้อนสูงมาก
ดังนั้นเมื่อเราใช้โคมไฟนี้กับหลอด QR111 จะไม่สามารถเปิดโดยไม่มีน้ำช่วยในการระบายความร้อนได้เลย

แต่ทาง Basiclite ได้นำโคมไฟชนิดนี้มาใส่กับหลอดแอลอีดี AR111 ขนาด 10W  (http://www.basiclite.co.th/product-th-882454-4477292-BW10W+QR111+W.html) โดยเรามีสีของแสงให้เลือก 2 สีคือสีขาวและสีวอร์ม

สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเน้นความประหยัดพลังงาน คงทน อายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ร้อน คุณภาพแสงลดลงนิดหน่อย เมื่อเทียบกับหลอด QR111 ขนาด 50W
หลอด AR111 ของทาง Basiclite จึงตอบโจทย์ได้ครับ ^^

รูปที่ 1-2 เป็นการโชว์ตัวของหลอดไฟ LED AR111 ขนาด 10W
รูปที่ 3-4 เป็นการโชว์ตัวของโคมไฟใต้น้ำและหลอด LED AR111
           ในรูปที่ 3 ตัวโคมมีการเทเรซิ้นกันน้ำเข้าทางสายไฟ ไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหมดห่วงได้เลยครับ
รูปที่ 5    มีสายไฟอยู่ 3 เส้น มีสีต่างๆกัน เราจะใช้สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ต่อเข้าหลอดไฟแอลอีดี AR111
           ส่วนสายไฟที่สีเขียวคาดเหลือง จะถูกต่อลงตัวถังโคมไฟไว้เพื่อ เก็บไว้ต่อลงกราวด์ กันดูดครับ
 


หัวข้อ: Re: วิธีการประกอบโคมใต้น้ำแอลอีดี Bu1010W
เริ่มหัวข้อโดย: basiclite ที่ เมษายน 17, 2012, 11:47:44 PM
รูปที่ 6 เนื่องจากขั้วแบบนี้จะสามารถ ออกแบบให้สามารถใส่สายไฟได้ทั้งแบบเสียบ และแบบขันน๊อต
        แต่เราเลือกแบบขันน๊อต เพราะจะได้ความแน่นของหน้าสัมผัส
        ดังนั้นส่วนที่เตรียมไว้สสำหรับเสียบจะยื่นออกมา ซึ่งเราต้องใส่ท่อหดตามรูป เพื่อจะได้ไม่เกิดการซอร์ตกับตัวถัง
รูปที่ 7 ประกอบหลอด LED AR111 เข้ากับโคมไฟแอลอีดี และใส่คลิปล็อก ซึ่งจะมีลักษณะเป็นลวดวงกลม
รูปที่ 8 ทำการประกอบกระจกและฝาปิด สังเกตุจะมีน๊อต จำนวน 3 ตัว ขันน๊อตทั้ง 3 ตัวนี้ให้พอตึงมือ
        ลักษณะการขันต้องค่อยๆ ขันน๊อตทีละตัวให้แน่นในระดับนึง และขันตัวต่อไป และมาขันน๊อตตัวเดิม
        ทำซ้ำไปแบบนี้เรื่อยๆ จนน๊อตทุกตัวเริ่มตึงมือ จึงหยุด
        *ถ้าขันน๊อตแน่นจนเกินไป จะทำให้ยางเกิดการผิดรูป และน้ำจะเข้าก็ตรงนี้ละครับ ^^
รูปที่ 9 ปอกปลายสายจะเจอสาย 3 เส้น ซึ่งสายที่เราใช้ต่อเข้ากับหม้อแปลง 24 โวลท์ จะเป็นสายสีน้ำตาลและสีน้ำเงิน
        ส่วนสายสีเขียวคาดเหลืองให้ต่อลงกราวด์ของระบบไฟบ้าน
รูปที่ 10 สามารถต่อไฟ 220VAC หรือไฟบ้าน ผ่านหม้อแปลง 24 โวลท์นี้ได้เลยครับ ก็จะได้แสงดังภาพนี้ครับ

        ** หม้อแปลงสามารถซื้อได้ที่นี้ครับ APV-12-24 (http://www.basiclite.co.th/product-th-882473-4581130-APV+12+24.html)