ลักษณะการทำงานของตัวไมโครคอนโทรเลอร์

      ในการสั่งงาน รับข้อมูล ประมวลผล ตัวไมโครคอนโทรเลอร์จะทำงานทั้งหมด ดังนั้นหลังจากที่เราได้ประกอบในส่วนของวงจรและประกอบตัวหุ่นเสร็จแล้ว ก็จะมาเข้าศึกษาในส่วนของตัวโปรแกรมและการเขียนโปรแกรม จากที่กล่าวมาข้างต้นการที่เราใช้วงจรบูสแรงดันขึ้นนั้น เมื่อนำมาต่อใช้งานกับตัวไมโครคอนโทรเลอร์และทำการเขียนโปรแกรมสั่งงานปรกตินั้นไม่สามารถที่ทำได้เพราะ ในขณะที่มอเตอร์ทำงานพร้อมๆ กันทั้ง 2 ตัวจะเกิดการกินกระแสที่มากจน วงจรบูสแรงดันไม่อาจที่จะรักษาระดับแรงดันให้คงที่ได้ เกิดเหตุการณ์แรงดันที่จ่ายให้ตัวไมโครคอนโทรเลอร์ตก จนถึงจุดที่วงจรตรวจสอบแรงดันภายในตัวไมโครคอนโทรเลอร์(LVD) ตรวจจับแรงดันได้และทำการรีเซตตัวเองทันที แต่ในแรงดันที่ตกนี้ ยังสามารถให้ตัวไมโครคอนโทรเลอร์ทำงานได้ เราจึงต้องทำการปิดการทำงานของวงจรตรวจจับแรงดัน(LVD) และต้องเพิ่มเติมวงจรที่เรียกว่าWatchdogเข้าไปเพื่อทำการรีเซตตัวไมโครคอนโทรเลอร์เมื่อเกิดการแฮง หรือ การปิดและเปิดเครื่องใหม่ ซึ่งวงจรWatchdogที่ใช้นี้เป็นคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งของตัวไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์นี้ โดยวงจรWatchdogที่อยู่ภายในตัวไมโครคอนโทรเลอร์นี้สามารถมีวิธีการใช้ ได้ 2 แบบคือในแบบ ที่เรียกการทำงานจากภายในโปรแกรม และแบบที่เรียกการทำงานโดยฮาร์แวร์ ในวงจรนี้เราจะใช้วงจรWatchdogที่ทำงานจากฮาร์แวร์ โดยทำการเซตจาก Option Byte ดังรูปที่12
 
รูปที่ 12 การเซต Option Byte ของตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ST7FLITE09B
รูปที่ 13 การเซตค่าเพิ่มเติมให้กับระบบ
    มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง