ขั้นตอนที่ 4 ทำการนำขาของอุปกรณ์และแกนเหล็กของมอเตอร์มาประกอบบนแผ่นพลาสติกที่เตรียมไว้ดังรูปที่ 7
        ในการประกอบดังรูปที่ 7 นี้ต้อง ล็อกน๊อตขนาด 3 มิลลิเมตรลงบนแกนมอเตอร์และลวดทองแดง อย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้เวลาทำงานเกิดความผิดพลาดจากแกนหลุด หรือขาลวดอ่อน
        ขั้นตอนที่ 5 ทำการประกอบลำตัวกับมอเตอร์ดังรูปที่ 8
        ในรูปที่ 8 จะนำเส้นลวดเส้นที่ 1 และ 2 มาทำการประกอบเป็นลำตัวหุ่นยนต์โดยเชื่อมต่อมอเตอร์กับเส้นลวดโดยใช้น๊อต 3 มิลลิเมตรและทำการตัดลวดขนาด 7 มิลลิเมตรเพื่อใช้เสริมเพื่อให้น๊อตวางได้พอดีตามรูปนะครับ
       ขั้นตอนที่ 6 ทำการตัดแผ่นพลาสติกขนาดประมาณ กว้าง 8 มิลลิเมตรและยาว 20 มิลลิเมตรเพื่อใช้ติดตั้งสวิทช์ S1-S4 ตามรูปที่ 9
        ในรูปที่ 9 เป็นการประกอบตัวสวิทช์เข้ากับตัวหุ่นยนต์โดยให้แผ่นพลาสติกชิดกับมอเตอร์เลยหรือเราอาจจะหาช่วงที่พอดีในการใช้มอเตอร์ที่แตกต่างกัน เพราะตัวสวิตช์ที่ติดตั้งนี้จะเป็นจุดที่เราจะอนุญาติให้มอเตอร์ขับขาของหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ได้มากหรือน้อย ครับ
ลักษณะการทำงานของบอร์ดวิทยุรับส่ง
       
ในการใช้งานในบทความนี้เราจะใช้สัญญาณที่ทำการถอดรหัสออกมาเพียง 3 สัญญาณเท่านั้น คือ เดินหน้า เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ตามหมายเลข1,2 และ3 โดยถ้าดูในวงจรต้องทำการนำค่าความต้านทาน 1 K ทั้ง 3 ตำแหน่งตามรูปที่ 10 ออก แล้วนำสัญญาณจากไอซีรถกระป๋องเข้าสู่ภาคประมวลผลโดยตรงได้เลย การทำงานของไอซีรถกระป๋อง ในสถานะปรกติไม่มีการกดปุ่มใดๆที่ภาคส่ง สถานะที่ขาสัญญาณจะมีค่าเทียบเท่าศูนย์โวลท์ ถ้ามีการกดปุ่มที่ภาคส่งของรถกระป๋องสถานะที่ขาสัญญาณที่ต้องการใช้งานเช่น ขาเดินหน้า ของไอซีภาครับนั้นจะมีไฟประมาณ 3.3 โวลท์หรือเทียบเท่าสถานะ1 เช่นถ้ามีการกดปุ่มเดินหน้าที่ภาคส่ง ที่ขา 11 หรือขาสัญญาณเดินหน้าของไอซีภาครับจะมีค่าเป็น 3.3 โวลท์หรือเทียบเท่า 1 ทันทีครับ เพื่อไม่ให้เราทำการเปลี่ยนแปลงวงจรพลาดให้ดูที่รูปจริงๆเลย
           
        มีต่อ...      
           

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง