ดุ๊ก ดิ๊ก กระดุกกระดิก
ดุ๊ก ดิ๊ก กระดุกกระดิก      
   
ดุ๊ก ดิ๊ก กระดุกกระดิก
 
       สวัสดีครับ ดุ๊ก ดิ๊ก กระดุกกระดิก เป็นโครงงานหุ่นยนต์แมลง 4 ขา พร้อมการบังคับด้วยวิทยุรับส่ง เป็นการเรียนรู้ลักษณะการเดิน การควบคุม การออกแบบ การวิเคราะห์ การทำงานของเจ้าตัวแมลง 4 ขา เป็นโครงงานต้อนรับปิดเทอมสำหรับ น้องๆที่ต้องการ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ลักษณะการทำงานของตัวหุ่นยนต์
       ในลักษณะการทำงานของหุ่นยนต์แมลงตัวนี้ ผมขอกล่าวโดยรวมเสียก่อนครับ เพื่อจะได้รู้หลักการคร่าวๆ ของการออกแบบ เจ้าตัว ดุ๊ก ดิ๊ก กระดุกกระดิกตัวนี้ครับ
       ก่อนการตัดสินใจในการสร้างเจ้าตัวหุ่นยนต์ตัวนี้ ลองมาดูลักษณะการทำงานคร่าวๆเสียก่อน โดยมีลักษณะการทำงานดังนี้
         1. สามารถบังคับให้เดินหน้า
         2. สามารถบังคับในการเลี้ยวซ้าย
         3. สามารถบังคับในการเลี้ยวขวา
         4. มีการแสดงผลการรับสัญญาณวิทยุ
         5. มีการแสดงผลการเลี้ยวซ้าย
         6. มีการแสดงผลการเลี้ยวขวา
       ในรูปที่ 1 เป็นบล็อกการแสดงการทำงานโดยรวมของระบบหุ่นยนต์ โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้โดยต้องเริ่มจาก วงจรรับสัญญาณวิทยุ ในวงจรส่วนนี้ผมไม่ได้ทำการออกแบบเอง เพื่อความง่ายผมได้นำมาจากวงจรรถกระป๋องที่ไม่ได้ใช้แล้วมาทำการดัดแปลง ในวงจรรถกระป๋องที่นำมาใช้งานในบทความนี้ สามารถหาอ่านอย่างละเอียดได้ใน หนังสือ Hobby Electronic ฉบับที่ 116 สัญญาณที่เกิดขึ้นจากวิทยุรับส่งเราจะนำมาใช้งานอยู่ 3 เส้น คือ สัญญาณเดินหน้า สัญญาณเลี้ยวซ้าย สัญญาณเลี้ยวขวา ส่วนสัญญาณถอยหลังเราไม่นำมาใช้เพราะโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ไม่ได้ออกแบบมาให้มีการถอยหลังได้ สัญญาณทั้ง 3 เส้นจะวิ่งเข้าสู่บล็อกหน่วยการควบคุมหลัก
       ในบล็อกการทำงานหน่วยการควบคุมหลักนี้ มีความสำคัญในระดับที่สูงมากเพราะถูกใช้เป็นวงจรที่ใช้ประมวลผลและควบคุมระบบทั้งหมด โดยในบล็อกนี้จะใช้ตัวไมโครคอนโทรเลอร์เบอร์ ST7FLITE09B ซึ่งการโปรแกรม การสร้างเครื่องโปรแกรมและการเรียนรู้สามารถหาอ่านได้จาก Hobby Electronic ฉบับที่ 139 ,140
       ในบล็อกการแสดงผล จะใช้ในการบอกลักษณะของทำงานของหุ่นยนต์ทั้งในการรับสัญญาณวิทยุ การเลี้ยวซ้าย การเลี้ยวขวา ในส่วนนี้จะประกอบโดยหลอด แอลอีดี สีแดงขนาด 3 มิลลิเมตรจำนวน 2 ตัว ในบล็อกการทำงานการตรวจจับสัญญาณอินพุท ในบล็อกนี้เป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นจากสวิตช์ที่ติดอยู่ที่บริเวณขาของตัวหุ่นยนต์ ในตัวหุ่นยนต์ตัวนี้ไม่ได้ใช้เชอร์โวมอเตอร์ แต่ใช้มอเตอร์ดีซีแบบทดรอบ จึงไม่สามารถควบคุมตำแหน่งที่แน่นอนได้ สวิทช์ที่ใช้ติดบริเวณขาของตัวหุ่นยนต์ก็จะใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของขาหุ่นยนต์ให้มีความถูกต้องในการเดิน
               
            มีต่อ...      

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง