รูปที่ 8 การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ
 

การทดสอบและการใช้งาน

  ยกตัวหุ่นยนต์ขึ้น  ฉายไฟฉายไปที่ LDR ตัวซ้าย สังเกตมอเตอร์ทางขวาจะทำงาน ถ้าฉายแสงไฟฉายไปที่LDR ตัวขวามอเตอร์ทางซ้ายจะทำงาน  ถ้าเราทำมาถึงขั้นนี้วงจรทำงานเกือบสมบูรณ์แล้ว และทดสอบครั้งสุดท้าย โดยการฉายแสงไฟไปที่ LDR ั้งสองตัวต้องทำงานพร้อมกันทันที
  และเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วเห็นว่าเราน่าจะสามารถปรับแต่งตัว LDR ในการหันรับแสงอย่างไร จึงสามารถตอบสนองต่อแสงได้ดีที่สุด  หรืออาจจะเปลี่ยนระยะการรับแสงได้จากการเปลี่ยนตัวต้านทานตามสูตรที่ให้มา  ลองปรับแต่งกันดูนะครับ  เพื่อจะได้หุ่นยนต์ที่สมบูรณ์แบบ เป็นการออกแบบจากมือของเราเอง
แต่ถ้าเราต้องการให้หุ่นยนต์มีขนาดเล็กกว่าที่เราทำมาข้างต้นเราก็สามารถที่จะทำได้แต่เราต้องประกอบวงจรยากขึ้นอีกนิดหน่อยและเรียนรู้การทำงานของทรานซิสเตอร์อีกนิด
 แต่คงไม่ยากเกินความสามารถของนักอิเล็กทรอนิกส์อย่างเราๆ ดังนั้นจึงขอนำเสนอวงจรที่ใช้ทรานซิสเตอร์ดังตัวอย่างวงจรในรูปที่ 9 เผื่อที่จะได้ลองทำกันดูนะครับ

รายการอุปกรณ์

R1,R2 - 20 k  ตัวต้านทานขนาด1/4 วัตต์ 5%     2 ตัว
LDR1,LDR2 - ตัวตรวจจับแสง                          2 ตัว
IC1 - ไอซีเบอร์ ULN2003                              1 ตัว
มอเตอร์ DC 3 โวลต์ ขนาดเล็ก                        2 ตัว
ลูกยางเทป                                                  3 ตัว
ถ่าน VARTA รุ่น CR123A หรือ Panasonic         1 ก้อน
สวิตซ์เลี่อน                                                 1 ตัว
สายไฟ, ปืนกาว, กาวพลาสติก, ตะกั่ว เป็นต้น


รูปที่ 9 ตัวอย่างวงจรหุ่นยนต์วิ่งตามแสงที่ใช้ทรานซิสเตอร์
     
 

ข้อเสนอแนะ

  ถ่านที่ใช้ต้องมีน้ำหนักเบาและขนาดค่อนข้างเล็กให้กระแสที่สูง ดังนั้นหุ่นยนต์ต้นแบบที่ทำขึ้นมานั้นได้ทดสอบกับถ่านของ VARTA รุ่น CR123A ซึ่งมีแรงดัน 3 โวลต์ และมีกระแส 1300 มิลลิแอมป์ และถ่านของ Panasonic Lithium (ราคาถูก) 3 โวลต์ หาได้จากร้านอิเล็กทรอนิกส์แถว ๆ บ้านหม้อหรือจากร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
  ทีนี้เราก็จะได้เจ้าหุ่นยนต์ตัวจิ๋วที่วิ่งเข้าหาแสงเป็นของเล่นอีกหนึ่งชิ้น ซึ่งเราสามารถทำขึ้นและออกแบบเองได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจเลยทีเดียว

 

      ออก..   

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง