ขั้นตอนการสร้างและการปรับแต่ง

  มาถึงขั้นนี้ ได้เวลาจับหัวแร้งกันแล้ว ก่อนอื่น เราควรกัดลายวงจรที่ได้ให้มาเสียก่อนหาอุปกรณ์ต่าง ๆ มาตามรายการอุปกรณ์ที่ให้ไว้ การลงอุปกรณ์เป็นไปตามหลักการตัวเล็กที่สุดต้องใส่ก่อนตามลำดับ ตัวต้านทาน ทรานซิสเตอร์ คาปาซิสเตอร์ หลอดแอลอีดี (LED)และซอกเก็ตไอซี เป็นส่วนสุดท้าย แต่อย่าลืมใส่ไอซีก่อนที่จะทำการทดสอบครับ ไม่เช่นนั้นวงจรจะไม่ทำงาน ทำการต่อสายไฟจากภาคขับมอเตอร์ไปที่มอเตอร์ ต่อไฟจากถ่านไฟฉาย 3 ก้อนผ่านสวิตซ์เข้าวงจร การต่อทั้งหมดดูตามรูปที่7 ครับ
อย่าลืมการใส่ไอซีและการต่อไฟอย่าต่อผิดขั้วนะครับไม่เช่นนั้นวงจรจะไม่ทำงาน แล้วยังมีของแถมจากวงจรที่เราเสียเวลาสู้อุตส่าห์สร้างมาจะกลายเป็นวงจรกำเนิดความร้อนนะครับ
มาถึงขั้นนี้ก็เข้าสู่การปรับแต่ง เมื่อเปิดสวิตซ์แล้วไฟจะเข้าสู่โครงงานเราทันที ถ้าวงจรไม่ขยับเลยหรือLED1 ไม่เปล่งแสงให้ทำการปิดสวิตซ์ทันที ตรวจเช็คโดยการจับไอซีและทรานซิสเตอร์ว่ามีความร้อนหรือไม่
สาเหตุอาจจะเกิดจากการต่อไฟผิดขั้วหรือต่อไอซีกลับด้านหรือต่อทรานซิสเตอร์ผิด พอตรวจสอบแก้ไขแล้วก็เปิดสวิตซ์อีกครั้ง ผลงานชิ้นนี้ที่เราทำขึ้นต้องมีการขยับซ้ายขวาและมีแสงออกทาง LED1 ถ้าไม่มีแสงออกมาแสดงว่าต่อ LED1 ผิดขั้ว และเมื่อเรานำวัตถุขยับเข้ามาในเขตระยะหวังผล LED1 ต้องดับ LED2 และLED3จะติดสลับกัน และเกิดเสียงขึ้นพร้อมกัน
แต่ถ้าเรานำวัตถุมาบังแล้วมอเตอร์ยังขยับสลับซ้ายขวาตลอดแสดงว่าเราต่อภาครับแสงอินฟาเรดหรือภาคส่งอินฟาเรดผิดครับ เมื่อเราแก้ไขแล้วก็ทำการเปิดสวิตซ์การทำงานอีกครับหนึ่ง
โดยต่อไปเราจะพิจารณาถึงการปรับความเร็วของมอเตอร์และการปรับความเร็วของการกระพริบของ LED2 และLED3 ทำได้จากการปรับที่ VR2 และVR1 เพียงเท่านี้ เราก็สามารถสร้างของเล่นชิ้นใหม่ได้ไม่เหมือนใครๆ แล้วละครับ


รูปที่ 4 ลายวงจรพิมพ์

รูปที่ 5 การลงอุปกรณ์บนแผ่นวงจรพิมพ์
 

ขั้นตอนการประกอบ

ขั้นตอนแรก นำส่วนฐานหมายเลข 1 มาประกอบติดกับส่วนฐานหมายเลข 2 โดยใช้นอตขนาด 3 มิลลิเมตรเป็นตัวเชื่อมต่อ
ขั้นตอนที่ 2 นำส่วนแกนของห้องเครื่องรถกระป๋องมาใส่ลงในรูกลางของส่วนฐานหมายเลข 2 จากนั้นใส่นอตขนาด 3 มิลลิเมตรจำนวน 2 ตัวหมุนลงตรงจุดที่เราทำเกลียวไว้แล้ว โดยการใส่นอตนี้จะเป็นการยึดแกนของรถกระป๋องกับส่วนฐานที่ 1 และ 2
ขั้นตอนที่ 3 นำแผงวงจรที่ทำเสร็จแล้วมายึดติดกับแผ่นพลาสติก โดยใส่นอตและฐานรองแผ่นปริ้นท์ให้เรียบร้อย โดยใช้นอตขนาด 3 มิลลิเมตรและนำแผ่นพลาสติกนี้ติดแทปกาว2หน้า แล้วนำไปติดกับห้องเครื่องรถกระป๋อง
ขั้นตอนที่ 4 นำสวิตซ์โยกมายึดติดกับรูที่เราเจาะไว้บริเวณของแผ่นพลาสติกที่มีแผงวงจรติดอยู่
ขั้นตอนที่ 5 นำรังถ่านขนาด 2 ก้อนและ 3 ก้อนมายึดติดด้านหลังของแผ่นฐานที่ติดแผงวงจรโดยใช้เทปกาว 2 หน้า
ขั้นตอนที่ 6 ทำการเชื่อมต่อวงจรดังรูปที่7
ขั้นตอนที่ 7 นำถ่านขนาด AAA ที่ไม่ใช้แล้วจำนวน 2 ก้อนมาติดตรงบริเวณส่วนฐานหมายเลข 1 เว้นระยะห่างพอประมาณ เพื่อให้ส่วนของแผงวงจรขยับได้ โดยใช้ปืนกาวเชื่อมติด
ขั้นตอนที่ 8 จากนั้นให้ลองเปิดสวิตซ์ แล้วให้นำวัตถุมากั้นบริเวณหลอดอินฟาเรด แล้วลองดูซิว่าผลงานของเรามีการขยับเขยื่อนเคลื่อนที่หรือเปล่าและที่สำคัญให้สังเกตดูว่ามีเสียงร้องดังขึ้นมาหรือไม่ หากมีเสียงร้องตอบโต้ดังขึ้นมาแสดงว่าผลงานชิ้นนี้ที่เราทำขึ้นมา ประสบความสำเร็จ!แล้วครับ

         
      มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง