สร้างชีวิต สร้างความรู้สึก สร้างจิตใจ
    
   สร้างจิตใจลงไปให้ตัวหุ่นยนต์สุนัข 
ให้สามารถโต้ตอบกับเราได้

โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์มาควบคุ

 บ๊อก บ๊อก! แสนรู้

        บ๊อก บ๊อก! แสนรู้

                  บ๊อก บ๊อก! แสนรู้

 

      จากนิตยสาร Hobby Electronics ปีที่ 11 ฉบับที่ 125 พ.ย. 2545

   สวัสดีครับ โครงงานในฉบับนี้ผมได้แนวคิดมาจากการเดินท่องเที่ยวแถวๆร้านของเล่นเด็กๆซึ่งก็ได้พบปะกับหุ่นยนต์สุนัขตัวหนึ่งซึ่งผมได้ซื้อมาใช้
ทดลองในงานอิเล็กทรอนิกส์ทันทีและเมื่อได้ทดลองการเล่นหุ่นยนต์ตัวนี้ได้เกิดแนวคิดที่จะนำระบบเจ้าตัวประมวลผลทางคอมพิวเตอร์  
หรือเรียกว่าตัไมโครคอนโทรลเลอร์ที่พึ่งศึกษามาหมาด ๆ มาใช้งานในบทความนี้ได้ทันท่วงทีเลยครับ

หลักการทำงานของกลไกหุ่นยนต์แบบเดิม ๆ

ในส่วนกลไกของหุ่นยนต์ผมจะขออธิบายโดยคราว ๆ เป็นหลักการ ส่วนเนื้อหาหลัก ๆ ขอให้ท่านผู้อ่านลองเดินหาซื้อแถว ๆ ร้านของเล่นและทดลองใส่ถ่านเพิ่มพลังให้กับตัวหุ่นยนต์ตัวนี้เองครับ หลักการโดยย่อคือ เมื่อเราซื้อเจ้าตัวนี้มาจากร้าน แล้วก็ทำทดสอบการทำงานของกลไกว่าก่อนที่เราจะทำการดัดแปลงนั้นมีการทำงานอย่างไรบ้าง สุนัขตัวนี้จะใช้ถ่านขนาด 4.5 โวลท์ กล่าวคือ เราจะใช้ถ่านที่มาขนาด AA จำนวนสามก้อน
ลักษณะการทำงานของเจ้าสุนัขตัวนี้จะเดินไปด้านหน้าและพอถึงจุด ๆ หนึ่งก็จะสั่นหัวอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และจะเดินหน้าต่อไปการทำงานเมื่อดูคร่าว ๆ แล้วเสมือนมีมอเตอร์อยู่จำนวนสองตัว แต่เมื่อเปิดดูแล้วผิดหวังครับเพราะใช้มอเตอร์เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้นและในส่วนของการสั่นหัวจะมีกลไกอีกชุดหนึ่งในการทำงาน แต่ไม่เป็นไรครับอย่างน้อย ๆ ก็ยังสามารถที่จะทำวงจรขับมอเตอร์ได้และเจ้าหุ่นยนต์สุนัขตัวนี้ยังมีของแถมมาคือ วงจรกำเนินสัญญาณเสียงซึ่งในวงจรนี้ เราจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเกิดเสียงของหุ่นยนต์ที่เราจะทำการดัดแปลงกันต่อไปครับ

โครงสร้างและการดัดแปลงชิ้นส่วน
ตำแหน่ง A ในส่วนปาก เราจะเจาะรู 1 รู เพื่อสำหรับมัดติดกับด้ายเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ส่วนที่เป็นมอเตอร์ เพื่อทำให้ปากสามารถขยับได้ตำแหน่ง B ในส่วนของจมูกนั้นเราจะเจาะรูจำนวน 3 รู เพื่อใส่อินฟาเรดจำนวน 3 ตัว เพื่อให้สุนัขสามารถตอบโต้ตามคำสั่งที่โปรแกรมไว้ได้ตำแหน่ง C ลักษณะของจุด C เราจะเจาะที่ตาทั้ง 2 ข้างเพื่อใส่ LED เข้าไปทั้ง 2 ข้างให้สุนัขสามารถกระพริบตาโต้ตอบกับเราได้ตำแหน่ง D ลักษณะการเจาะจะเจาะที่ส่วนหน้าพากของสุนัขโดยเราจะใช้ไมโครโฟนติดลงไปเพื่อให้สุนัขสามารถรับสัญญาณเสียงจากเราไปทำตามคำสั่งที่ได้โปรแกรมไว้ได้
ตำแหน่ง E เป็นจุดที่จะเจาะรูจำนวน 2 รู เพื่อติดอินฟาเรดทั้งตัวรับและส่งเพื่อให้สุนัขโต้ตอบกับเราได้เวลาเราลูบไปที่หัวของสุนัข
ตำแหน่ง F ในส่วนของจุด F ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ถือเป็นหัวใจของสุนัขที่จะสร้างให้สุนัขตัวนี้มีชีวิตชีวา สามารถตอบโต้กับเราได้อย่างฉลาด ซึ่งเราจะติดตั้งในส่วนของวงจรไว้ในกระเป๋าที่อยู่บนหลังของสุนัข

 

รูปที่ 2ระบบสั่งงาน  
     
    มีต่อ...    

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง