วงจรอิเล็กทรอนิกส์
       ในการทำงานทั้งระบบ เมื่อเราสร้างส่วนกลไกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กลไกที่เราประกอบขึ้นมา ก็ยังไม่สามารถทำงานได้ เราต้องเพิ่มเติมส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าไป เพื่อเป็นการเสริมสร้างการทำงานให้โครงงานของเราเสมือนมีชีวิตขึ้นมา ดังนั้นในส่วนนี้ผมจะค่อยๆ เริ่มจากการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบง่ายๆ จนถึงขั้นที่ยุ่งยาก เพื่อให้น้องๆได้เลือกใช้วงจร และเห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับตัวหุ่นยนต์ Crocodile1 และ Crocodile2
การออกแบบวงจรให้ตัวหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบเดินหน้าและถอยหลัง (Crocodile1)
       ในส่วนนี้เราได้สร้างวงจรแบบง่ายๆ โดยอาศัยการเดินหน้าหรือถอยหลัง โดยสามารถเลือกการทำงานเดินหน้า หรือถอยหลังจากการสลับสวิตช์เท่านั้นในรูปที่ 11 เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบง่ายๆ ทำหน้าที่ในการสลับขั้วมอเตอร์ เพื่อให้หุ่นยนต์ของเรามีการเดินหน้าและถอยหลัง สวิตช์ S1 ทำหน้าที่เปิดปิดกระแสไฟฟ้า ที่ผ่านเข้าสู่มอเตอร์ สวิตช์ S2 ทำหน้าที่สลับขั้วมอเตอร์ให้หมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา หรือทวนเข็มนาฬิกา
การออกแบบวงจรให้ตัวหุ่นยนต์เคลื่อนที่เข้าหาวัตถุเมื่อมีวัตถุวิ่งเข้าหา (Crocodile2)
       ในแนวทางการออกแบบวงจรนี้ อาศัยแนวความคิดการตรวจจับวัตถุ ที่วิ่งเข้าหาตัวหุ่นยนต์ เราต้องมีการใช้เซ็นเซอร์อินฟาเรด ในการทำหน้าที่เสมือนเป็นตาของหุ่นยนต์ และสั่งงานให้มอเตอร์มีการทำงานเมื่อมีวัตถุวิ่งเข้าชน ในระบบนี้เราต้องมีการใช้มอเตอร์รุ่น Twin-Motor Gearbox เพื่อให้การทำงานของมอเตอร์ทั้ง 2 ข้างมีการทำงานที่อิสระต่อกัน
 
 
หลักการทำงานของวงจร
       วงจรจะมีลักษณะการทำงาน โดยอาศัยการตรวจจับแสงอินฟาเรด ในสภาวะปรกติวงจรภาครับแสงอินฟาเรดทั้งส่วน L และ R จะไม่ทำงาน ในสภาวะที่วงจรภาครับ L ได้รับสัญญาณการวิ่งเข้ามาของวัตถุ จะสั่งงานให้มอเตอร์ขวาทำงาน และตรงกันข้ามถ้าในสภาวะที่วงจรภาครับ R ได้รับสัญญาณการวิ่งเข้ามาของวัตถุ จะสั่งงานให้มอเตอร์ซ้ายทำงาน ในสภาวะสุดท้าย ถ้าวงจรภาครับ L และ R ได้รับสัญญาณของวัตถุเข้ามาพร้อมกัน มอเตอร์ทั้ง 2 ตัวก็ทำงานเดินหน้าพร้อมกัน
       
    มีต่อ...

             ออกแบบและจัดทำโดย :: BASICLITE.COM
  Email: basic@basiclite.com   
   สายตรง